เซินเจิ้น ประเทศจีน 23พฤษภาคมพ.ศ.2566 –หัวเว่ยเปิดฉากงานประชุมพาร์ทเนอร์สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ‘Asia Pacific Partners Conference 2023’ ณ เมืองเซินเจิ้นโดยได้เชิญพันธมิตรกว่า1,200 รายจากกว่า10 ประเทศในภูมิภาคเพื่อร่วมระดมความคิดและแสวงหาโอกาสใหม่ในการสร้างความเติบโตเพื่อความสำเร็จร่วมกันในอนาคต โดยหัวเว่ยยังได้เป็นเจ้าภาพในพิธีเปิดตัวพันธมิตรพาร์ทเนอร์ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในระหว่างการประชุมอีกด้วย
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมาอย่างยาวนานและยังเป็นภูมิภาคที่เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการริเริ่มนวัตกรรม ที่แสดงถึงศักยภาพของเอเชียแปซิฟิกในฐานะภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลกโดยหัวเว่ยมีพาร์ทเนอร์องค์กรมากกว่า7,900 รายและพาร์ทเนอร์ด้านคลาวด์มากกว่า2,000 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยังมุ่งบ่มเพาะอีโคซิสเต็มพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นโดยหัวเว่ยมุ่งมั่นเพิ่มการลงทุนและสร้างแรงจูงใจทางธุรกิจให้กับพาร์ทเนอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าพร้อมส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค รวมทั้งปลดปล่อยศักยภาพดิจิทัลไปพร้อมกัน
ภายในงานประชุมครั้งนี้ หัวเว่ยได้ประกาศเปิดตัวพาร์ทเนอร์ใหม่จำนวน 6 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยครอบคลุมพาร์ทเนอร์จากกลุ่มต่างๆ ทั้งภาครัฐ สถาบันการเงิน ภาคพลังงานไฟฟ้า และอุตสาหกรรมคมนาคมทางบกทางน้ำและท่าเรือตลอดจนผู้ให้บริการซอฟต์แวร์อิสระ (Independent Software Vendor – ISV) และโซลูชันศูนย์ข้อมูล ซึ่งมีพาร์ทเนอร์มากกว่า 70 รายจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมเป็นสักขีพยานและให้คำมั่นเพื่อสานต่อความร่วมมือและนวัตกรรมในหลากหลายมิติ โดยมีเป้าหมายเพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาขีดความสามารถและคว้าโอกาสธุรกิจใหม่จากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมในตลาดเอเชียแปซิฟิก
นายเดวิด หวัง กรรมการบริหารประธานคณะกรรมการบริหารโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีและประธานกลุ่มธุรกิจเอนเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดว่า “การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและโลกอัจฉริยะกำลังสร้างแรงกระเพื่อมไปทั่วโลกโดยมีโอกาสสร้างมูลค่าทางการตลาดกว่าหนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐทั้งนี้ หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นต่อยอดความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อคว้าโอกาสอันมหาศาลนี้ เราสร้างกลยุทธ์พัฒนาพาร์ทเนอร์แบบเฉพาะตัวสำหรับ 3 กลุ่มธุรกิจหลักในตลาดเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ กลุ่มลูกค้าองค์กร (Named Account), กลุ่มธุรกิจการค้าและกลุ่มจัดจำหน่ายซึ่งสอดรับกับความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้ตรงจุดมากขึ้นหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์มุ่งสนับสนุนกลยุทธ์ดิจิทัลสำหรับลูกค้าองค์กร(Named Account) เพื่อเร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของกลุ่มSME และมุ่งแสวงหาตลาดใหม่ที่ยังมีการแข่งขันต่ำในธุรกิจจัดจำหน่ายซึ่งเราจะทุ่มเทอย่างเต็มที่ตลอดเส้นทางเพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกันเราเชื่อมั่นว่าหัวเว่ยจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อพาร์ทเนอร์ประสบความสำเร็จดังนั้น เราจึงต้องผนึกกำลังเพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจและบรรลุเป้าหมายการเติบโตร่วมกันให้ได้”
นาย นิโคลัส หม่า ประธานกลุ่มธุรกิจเอนเตอร์ไพรส์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ยได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงานพร้อมนำเสนอแนวโน้มธุรกิจของหัวเว่ยอีกห้าปีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากการคาดการณ์ของหัวเว่ย ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยสัดส่วนรายได้ของบริษัทถึง95% จะมาจากพาร์ทเนอร์และคาดว่าเหล่าพาร์ทเนอร์จะสร้างรายได้ถึง800 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการของหัวเว่ย นอกจากนี้ นาย นิโคลัสยังเปิดเผยว่า หัวเว่ยมุ่งมั่นช่วยเหลือพาร์ทเนอร์ในการสร้างคุณค่าในการให้บริการลูกค้าเพื่อบรรลุผลตอบแทนทางธุรกิจที่สูงขึ้น
นาย นิโคลัส หม่า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย
ในปีพ.ศ.2566 หัวเว่ยมุ่งพัฒนาศักยภาพพาร์ทเนอร์เป็นอันดับแรกในประเทศไทย และตอกย้ำความแข็งแกร่งของนโยบายพาร์ทเนอร์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ “ความสามารถด้านการทำกำไรความแข็งแกร่งความโปร่งใสและความยั่งยืน”เพื่อสนับสนุนพาร์ทเนอร์ให้ก้าวข้ามความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และร่วมกันบุกเบิกเส้นทางเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในอนาคตของทั้งสองฝ่าย
หัวเว่ยมุ่งมั่นลงทุนด้านทรัพยากรเพื่อขจัดข้อกังวลจากพาร์ทเนอร์3ประการ ได้แก่ ความโปร่งใสของนโยบายกระบวนการลงทะเบียนโครงการอย่างเป็นระบบและการฝึกอบรมโดยอิงตามความสามารถตลอดจนกระบวนการถ่ายทอดความรู้ในกลุ่มพาร์ทเนอร์
ประการแรก – ความโปร่งใสซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างความไว้วางใจและความสำเร็จร่วมกันระหว่างหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ โดยหัวเว่ยได้เปิดตัวเว็บไซต์นโยบายพาร์ทเนอร์และเผยแพร่นโยบายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องบนแพลตฟอร์มนี้เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและตรวจสอบได้
ประการที่สอง – การจัดการกระบวนการลงทะเบียนโครงการอย่างเป็นระบบเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาระยะยาวและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานด้วยเหตุนี้หัวเว่ยจึงได้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการลงทะเบียนโครงการใหม่เพื่อปกป้องผลประโยชน์พาร์ทเนอร์อย่างเป็นระบบมากกว่าที่เคย
ประการที่สาม – การถ่ายทอดความรู้ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนและยกระดับขีดความสามารถของหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ด้วยความเชี่ยวชาญระดับโลกของหัวเว่ยและการเสริมทัพความรู้ด้านอุตสาหกรรมให้แก่พาร์ทเนอร์ หัวเว่ยจึงมั่นใจว่าจะช่วยสนับสนุนอีโคซิสเต็มแห่งความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในนวัตกรรมทางธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทางหัวเว่ยจะเพิ่มงบประมาณในการฝึกอบรมพาร์ทเนอร์เป็นเท่าตัวและมอบแรงจูงใจที่มากขึ้นแก่พาร์ทเนอร์ที่ได้การรับรองด้านวิศวกรรม ในขณะเดียวกัน หัวเว่ยขอให้พาร์ทเนอร์เชื่อมั่นในกลยุทธ์นี้และร่วมกันต่อยอดการลงทุนด้านการส่งเสริมทักษะและเพิ่มศักยภาพบนแพลตฟอร์มหัวเว่ย
เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในพันธกิจ “เติบโตพร้อมกับประเทศไทยร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)” หัวเว่ยจะมุ่งทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์กับทุกฝ่ายและเพื่อผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน ร่วมผนึกกำลังเพื่อก้าวสู่อนาคตแห่งความสำเร็จไปด้วยกัน