กรุงเทพฯ, วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 – หัวเว่ยประกาศความพร้อมสนับสนุนประเทศไทยในการก้าวสู่เมืองอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ ยกทัพนวัตกรรม–เทคโนโลยีล้ำยุค พร้อมผนึกกำลังสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ดีป้าเปิดงานสัมมนาพิเศษฟอรัมพิเศษเร่งการเปลี่ยนแปลงเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ภายในงาน “ไทยแลนด์ สมาร์ทซิตี้ ฟอรัม 2023 (Thailand Smart City 2023)”
นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด เปิดเผยถึงจุดยืนของหัวเว่ยในด้านเมืองอัจฉริยะว่า “จุดที่น่าสนใจของความเป็นเมืองอัจฉริยะคือ สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยผู้คนและเทคโนโลยี สังคมแห่งการแบ่งปันคุณค่า ที่ตระหนักถึงความเป็นอยู่ที่ดีของแต่ละคน ทั้งในด้านความปลอดภัย การศึกษา สุขภาพ ความมั่งคั่ง สังคมที่พึ่งพาตนเองได้ เป็นต้น ดังนั้น การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ถือว่าเป็นแนวทางสําคัญในการเปลี่ยนเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ เพื่อรองรับและบริหารจัดการทุกองค์ประกอบของสังคม ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดําเนินชีวิตในสังคม นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยยกระดับความสะดวกสบายและมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับพันธกิจของหัวเว่ย ประเทศไทย ในการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน และการร่วมมือกับพันธมิตรในทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต”
ในโอกาสนี้ หัวเว่ยยังได้รับความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า จัดเวทีพิเศษ Thailand Smart City 2023 ภายใต้แนวคิด “Accelerating Intelligence of Smart City ยกระดับเมืองอัจฉริยะน่าอยู่” โดยได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการใหญ่ของดีป้า, ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และเผยถึงแนวทางการนำประเทศไทยให้ก้าวสู่เมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม
ในโอกาสนี้ นายเชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวว่า “สถาปัตยกรรมของการเปลี่ยนแปลงสู่เมืองอัจฉริยะมีองค์ประกอบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะ, การเชื่อมต่ออัจฉริยะ, ระบบพื้นฐานและแพลตฟอร์มที่มีความอัจฉริยะ, ระบบวิเคราะห์ข้อมูล AI ตลอดจนถึงแอปพลิเคชันอัจฉริยะ ซึ่งเรามุ่งหวังที่จะพัฒนาบริการสาธารณะให้ครอบคลุมและมีการกำกับดูแลที่ทันสมัย โดยการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในด้านภาคการศึกษา, สาธารณสุข, บริการสาธารณะตลอดจนการดูแลความปลอดภัยที่มีความชาญฉลาดยิ่งกว่าเดิม
พร้อมกันนี้ หัวเว่ยยังได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเมืองอัจฉริยะมาร่วมจัดแสดงภายในงาน โดยภายในบูธของหัวเว่ย ผู้เข้าร่วมงานจะได้พบกับระบบ “อินเทลลิเจนท์ โอเปอเรชัน เซ็นเตอร์ (Intelligent Operation Center)” สำหรับเมืองอัจฉริยะ ซึ่งรวบรวมข้อมูลภูมิสารสนเทศ (GIS), แบบจําลองข้อมูลอาคาร BIM, ข้อมูล IoT, ข้อมูลบริการและการเตือนภัยเพื่อสร้างเมืองดิจิทัลทวินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจข้ามแผนก และการประสานงานทรัพยากรฝ่ายบริหารจัดการเมือง
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้นำเสนอโซลูชันและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาเมืองให้ชาญฉลาดมากกว่าเดิม เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์เพื่อช่วยขับเคลื่อนเมืองให้อัจฉริยะกว่าเดิมด้วยข้อมูล โดยนำเสนอผ่าน 3 โซนสำคัญคือ 1. โซนบริการสาธารณะ นำเสนอความโดดเด่นของระบบที่สามารถเชื่อมการสื่อสารระหว่างเมืองเพื่อให้สามารถประสานงานหรือเตรียมพร้อมรับเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที โซนที่ 2. คือ ระบบบความปลอดภัยรอบด้าน หรือ Omni Safety ซึ่งเป็นการผสมผสานขีดความสามารถของเทคโนโลยีทั้งภาพ เสียงและข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถทำงานประสานกันได้อย่างครบวงจรเป็นระบบที่หลากหลาย เช่น ระบบบรรเทาสาธารณภัยอัจฉริยะ, เสาอัจฉริยะ(Smart Pole)ที่ทำหน้าที่หลากหลายฟังก์ชัน เช่น ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าต่าง ๆ, กล้องวงจรปิด และระบบแจ้งเหตุเพื่อช่วยยกระดับความปลอดภัยเมือง และในโซนที่ 3. เอไอเพื่องานราชการ (AI for Government) ที่นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญที่ทำให้เห็นภาพของเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริงจากการนำเทคโนโลยีเอไอเข้ามาช่วยงานในหลากหลายมิติ เช่น การพยากรณ์อากาศที่แม่นยำมากขึ้น, ระบบงานวิจัยภาครัฐ, การวิเคคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร ตลอดจนถึงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ในด้านบริการสาธารณะ โดยโซลูชันทั้งหมดได้เริ่มมีการนำไปประยุกต์ใช้ และนำไปใช้แล้วจริงทั้งในและต่างประเทศ
งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระดับนานาชาติด้านเมืองอัจฉริยะนี้จัดขึ้นโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ซึ่งในครั้งนี้ได้นำเสนอภายใต้แนวคิดของการยกระดับเมืองอัจฉริยะแบบองค์รวม ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องการวางโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้แข็งแกร่ง เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณะที่ชาญฉลาดมากขึ้นและสามารถกระจายตัวเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเมืองอัจฉริยะพร้อมร่วมกิจกรรมภายในบูธหัวเว่ย ระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณ โซน C01, ฮอลล์ 4 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://thailandsmartcityexpo.com