“ฟูจิฟิล์ม”ชวนแพทย์แถวหน้าเผยสถิติมะเร็งตับในไทย พร้อมแนะแนวทางการคัดกรอง มะเร็งตับชนิด HCC ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงจากญี่ปุ่นที่แม่นยำ-รู้ผลไว แพทย์เผยการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงแต่เนิ่น ๆ ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้

กรุงเทพฯ 9 มิถุนายน 2566 — บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคมและร่วมสร้างสังคมที่ยั่งยืนเพื่อสุขภาวะที่ดีขึ้นของคนทั่วโลก ล่าสุดจัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ “Improved HCC Surveillance Program using Triple HCC Biomarkers and GALAD Score in Thailand” (การพัฒนาศักยภาพการตรวจคัดกรองและการเฝ้าระวังของมะเร็งตับระดับปฐมภูมิด้วย 3 สารบ่งชี้การก่อมะเร็งที่จำเพาะกับมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิและ GALAD Score) ให้บุคลากรทางการแพทย์ คนในวงการสาธารณสุข และสื่อมวลชนได้เข้าใจสถานการณ์ล่าสุดและแนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งตับชนิด HCC ของประเทศไทย โดยเวทีดังกล่าวได้รับเกียรติจากอาจารย์แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ทวีศักดิ์ แทนวันดี หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ สุพจน์ นิ่มอนงค์ อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาร่วมเผยสถิติของมะเร็งตับในไทย-ทั่วโลก ตลอดจนความท้าทายในการวิจิฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับตับ งานเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นพร้อมกับงานประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 18 สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย THASL Annual Meeting 2023 ภายใต้วัตถุประสงค์ในการเพื่อเผยแพร่ความรู้ ความก้าวหน้าและวิทยาการใหม่ ๆ ให้แก่แพทย์และสมาชิก

ศาสตราจารย์นายแพทย์ทวีศักดิ์ แทนวันดี หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงสถิติของมะเร็งตับในไทยและทั่วโลกว่า “สถิติล่าสุดเผยให้เห็นว่ามะเร็งตับเป็นมะเร็งอันดับ ของโลก แต่ที่น่าสนใจคือมะเร็งตับเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ป่วยทั่วโลกเป็นอันดับ 3 โดยหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งตับสูงนั้นเป็นเพราะการตรวจพบโรคที่ช้ากว่ามะเร็งชนิดอื่น เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใด ๆ ทำให้ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ กว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งก็ถึงระยะลุกลามหรือระยะสุดท้ายแล้ว บางรายมีก้อนเนื้อขนาด 3-4 ซม. ก็ยังไม่มีอาการ สำหรับในประเทศไทย พบว่ามะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ในเพศชายและอันดับ 4 ในเพศหญิง โดยไทยมีผู้ป่วยมะเร็งตับถึง 25,000 รายต่อปี โดยมี 12,000 รายที่ตรวจพบเป็นมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด Hepatocellular carcinoma (HCC) ซึ่งตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองเป็นประจำและการมีเทคโนโลยีการคัดกรองที่แม่นยำจะช่วยให้การวินิจฉัยและการรักษาเกิดขึ้นได้ทันท่วงที”

อีกหนึ่งปัจจัยที่มะเร็งตับพบมากในคนไทยและในเอเชียเป็นเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบบีและซีในทวีปเอเชีย หลายคนอาจไม่ทราบว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีอาจนำไปสู่ภาวะตับแข็ง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีการป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีสำหรับทารกแรกเกิด นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวควรได้รับยาเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับเชื้ออีกด้วย” ศ. นพ. ทวีศักดิ์ แทนวันดี กล่าวย้ำเรื่องความสำคัญของการฉีดวัคซีน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ สุพจน์ นิ่มอนงค์ อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยถึงนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการคัดกรองมะเร็งตับในระยะแรก “ปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งตับในเมืองไทยจะใช้การตรวจอัลตราซาวด์ ร่วมกับการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งในเลือด (Tumor marker) ที่เรียกว่า AFP (alpha-fetoprotein) ทุก 6 เดือนในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อย่างไรก็ตาม การตรวจด้วยวิธีดังกล่าวยังได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ ดังนั้นจึงมีการค้นคว้าหาสารบ่งชี้มะเร็งชนิดใหม่เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรค ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการศึกษาวิจัยร่วมกันในการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับในเลือดอีก 2 ชนิด ได้แก่ PIVKA-II และ AFP-L3 ซึ่งคิดค้นในประเทศญี่ปุ่น พบว่าเมื่อนำตัวบ่งชี้ทั้ง 3 ชนิดมาใช้ร่วมกัน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งตับ หากนำการตรวจนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในไทย โอกาสในการได้รับการวินิจฉัยและรักษามะเร็งในระยะแรกก็จะเพิ่มสูงขึ้น”

คุณสุภัทรา สุภรัมย์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดระดับภูมิภาค (ผลิตภัณฑ์เพื่อการวินิจฉัยภายนอกร่างกาย) แผนกธุรกิจระบบทางการแพทย์ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจมะเร็งตับของญี่ปุ่นถือว่ามีความล้ำหน้าและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก จากสถิติพบว่าผู้ป่วยในญี่ปุ่นได้รับการตรวจวินิจฉัยตรวจพบเนื้องอกเซลล์มะเร็งตับตั้งแต่ที่ขนาดยังโตไม่ถึง 2 เซนติเมตร และได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในญี่ปุ่นมีอัตราการรอดชีวิตสูงที่สุดในโลก เพราะมีระบบการตรวจคัดกรองที่มีความไวและความจำเพาะสูงโดยอาศัยตัวบ่งชี้ทั้ง AFP, PIVKA-II และ AFP-L3 โดยฟูจิฟิล์มได้มีส่วนร่วมในการช่วยวินิจฉัย จากนวัตกรรมที่พัฒนาน้ำยาที่ใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งตับดังที่กล่าวมาข้างต้น

ภายในงานประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 18  สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย THASL Annual Meeting 2023 ฟูจิฟิล์มได้นำเสนอเทคโนโลยีการตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งตับในเลือดจากญี่ปุ่นอย่าง AFP-LP3 รวมถึงโซลูชัน Fully Automated Immunoanalyzer อย่าง “μTASWako i30” เครื่องตรวจวิเคราะห์สารบ่งชี้มะเร็งตับในเลือดแบบครบวงจรที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและความแม่นยำ สามารถรายงานผลเลือดได้ภายใน 9 นาที และรายงานผลเลือดได้มากถึง 25 รายการต่อชั่วโมง นับเป็นอีกหนึ่งโซลูชันสำคัญที่เข้ามาเสริมทัพให้แก่โซลูชันทางการแพทย์ด้านการวินิจฉัยโรคที่ครบวงจรของฟูจิฟิล์ม ในฐานะผู้นำด้าน One-Stop, Total Healthcare Solution ระดับโลก การเดินหน้าสร้างความตระหนักรู้เรื่องการคัดกรองมะเร็งและการฉีควัคซีนป้องกันโรคในประเทศไทยสอดคล้องกับพันธกิจในการยกระดับวงการสาธารณสุขทั่วโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ของฟูจิฟิล์มในการช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคมและช่วยสร้างสังคมที่ยั่งยืน เพื่อสุขภาวะที่ดีขึ้นของทุกคน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *