เมื่อผู้มีภาวะตาบอดสีมีอยู่จำนวนไม่น้อย แล้วเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถช่วยเหลือคนทำงานได้อย่างไร?

กรุงเทพฯ,ประเทศไทย,3 ตุลาคม2566โลกการทำงานหลังยุคโควิทได้เปลี่ยนไปจากเดิม มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงานโดยเฉพาะเมื่อเราใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์กันยาวนานขึ้น ด้วยเหตุนี้เองบริษัท และองค์กรต่างๆ ได้เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมกายและใจ(Wellness)และเริ่มตระหนักถึงการทำงานที่มากเกินไปทั้งภาระและหน้าที่ที่พนักงานต้องรับผิดชอบกันมากขึ้น นับเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรจะเริ่มพิจารณาผลกระทบด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ของพนักงานตนเอง

เป็นที่คาดการณ์ว่าประชากรโลกกว่า 300ล้านคนมีภาวะการบกพร่องทางการมองเห็นสีต่างๆหรือที่เรียกว่าตาบอดสีนั่นเอง ผู้ชาย 1 ใน 12 คน (8%) และ ผู้หญิง 1 ใน 200คน (0.5%)ประสบปัญหาเรื่องตาบอดสีและสำหรับประเทศไทยนั้น คาดว่ามีคนเป็นตาบอดสีประมาณ 2,600,000คน

กลุ่มคนทำงานที่มีภาวะตาบอดสีมักจะถูกมองข้าม และต้องพบเจอกับปัญหาในการทำงาน โดยขาดความเข้าใจที่มีต่อภาวะของพวกเขาที่สิ่งแวดล้อมต่างๆได้รับการออกแบบมาสำหรับคนปกติทั่วไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และในหน้าที่การงาน

ภาวะตาบอดสีในสถานที่ทำงาน

การเกิดตาบอดสีนั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน สาเหตุที่พบได้บ่อยคือสาเหตุจากกรรมพันธุ์ โดยเฉพาะจากแม่สู่บุตรชาย อีกจำนวนหนึ่งเกิดจากความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมาภายหลัง อาทิ โรคเบาหวาน, โรคเอ็มเอส ซึ่งเกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง, การเสื่อมลงของจอประสาทตา และผลข้างเคียงจากยา หรือสารเคมี

ภาวะตาบอดสีได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานในหลากหลายอาชีพสำหรับตัวพนักงานหรือลูกจ้างเองก็ต้องพบกับความท้าทายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่นการเข้าเว็บไซต์,การสร้างเอกสารสเปรทชีท,การนำเสนองานเป็นต้น ผู้มีภาวะตาบอดสีอีกจำนวนหนึ่งยังต้องเจอกับปัญหาในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่างๆ

ด้วยเหตุนี้เองการดูแลพนักงานที่มีภาวะตาบอดสีนับเป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทไม่ควรมองข้าม เป็นที่คาดการณ์ว่าทุกองค์กรที่มีพนักงานชายมากกว่า 12คน จะมีพนักงานอย่างน้อย1 คน ที่มีภาวะตาบอดสี และยังไม่นับรวมถึงบุคคลที่เราอาจต้องติดต่องานด้วย อาจจะเป็นลูกค้า หรือซัพพลายเออร์ต่างๆ ซึ่งกว่า 4.5% ของคนเหล่านั้นอาจมีภาวะตาบอดสีด้วยเช่นกันอุปกรณ์ที่เลือกใช้ในการทำงานจึงต้องเหมาะกับทุกคน

เริ่มต้นด้วยเทคโนโลยีที่ใช่

เทคโนโลยีจอภาพแบบ OLEDนั้นอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้มีภาวะตาบอดสี เนื่องจากสเปกตรัมสี RGB(สีแดง เขียว และน้ำเงิน) ของจอภาพ OLEDนั้นสามารถให้ความละเอียดสีได้กว้างและมากกว่าหน้าจอ LCD ด้วยการสะท้อนของแสงที่แคบกว่า และสามารถทำได้ดีกว่าแผ่นกรองสี LCDทั่วไป

หน้าจอ OLEDยังเป็นจอแสดงผลเปล่งแสงที่สามารถควบคุมความสว่างของแต่ละพิกเซลได้ เนื่องจากสามารถควบคุมความอิ่มตัว (Saturation) หรือความเข้มของสีหลัก RGBได้อย่างอิสระ จึงสามารถแสดงค่าสีที่สมบูรณ์ที่สุด และยังสามารถปรับเทียบสีสำหรับผู้ใช้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็นสีอีกด้วยเทคโนโลยีจอภาพ OLEDจะให้สีที่ใกล้เคียงและสมจริงที่สุดสำหรับผู้ที่มีสายตาปกติ และสำหรับผู้ที่มีภาวะตาบอดสี ไม่ว่าจะเป็นภาวะตาบอดสีแดง หรือตาบอดสีเขียว ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนมากของผู้มีภาวะตาบอดสี เทคโนโลยีจอ OLEDจะช่วยให้พวกเขามองเห็นสีเพิ่มขึ้น และแยกแยะสีได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ASUSบริษัทคอมพิวเตอร์ชั้นนำระดับโลก นับเป็นผู้ผลิตรายแรกที่นำเสนอโน้ตบุ๊กหน้าจอ OLEDสู่ท้องตลาด และได้ต่อยอดแตกไลน์สินค้าโน้ตบุ๊กหน้าจอ OLEDครอบคลุมทุกกลุ่มการใช้งาน พร้อมแนะนำโน้ตบุ๊กสำหรับคนทำงานอย่าง ASUS Zenbook S13 OLED ซึ่งนอกจากจะมาพร้อมหน้าจอ ASUS Lumina OLEDที่ให้สีสันสวยสดใส พร้อมการแสดงช่วงสีที่กว้างเป็นพิเศษ และให้ค่าคอนทราสต์ที่สูงถึง 1,000,000:1ให้สีดำลึก ดูมีมิติสมจริงยังโดดเด่นเรื่องการพกพา เป็นโน้ตบุ๊กขนาด 13.3นิ้วที่บางที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีโน้ตบุ๊กธุรกิจ ASUS Expertbook B9 OLED เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับผู้ที่เน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มาพร้อมฟีเจอร์ความปลอดภัยระดับองค์กรครอบคลุม

นับเป็นเรื่องดีที่เทคโนโลยีได้เข้ามาเพิ่มโอกาสในการทำงานที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้มีสายตาปกติ หรือผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็น โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่บริษัทจำนวนมากขึ้นได้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม(Wellness)อีกด้วย

ติดตามข้อมูลข่าวสารและผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่https://www.facebook.com/ASUSTHAILAND

ASUS Online Store: https://www.asus.com/th/store/

ASUS Official Store บน Shopee: https://bit.ly/2UEpBCb

ASUS Official Store บน Lazada: https://bit.ly/2UBBmcJ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *