เอชพีเผยผลวิจัยวิกฤตสภาพอากาศส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกซื้อสินค้า-บริการอาชีพและขนาดครอบครัว

  • งานวิจัยล่าสุดจากเอชพีและ Morning Consult เผยว่าพ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยส่วนใหญ่ระบุว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อมุมมองในการมีบุตรเพิ่ม
  • จากงานวิจัยพบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่จับตามองการจัดการปัญหาด้านภูมิอากาศจากบริษัทต่าง ๆ
  • ข้อมูลเชิงลึกล่าสุดที่เอชพีเผยแพร่ในรายงานประจำปีด้านความยั่งยืนฉบับที่ 22 มีรายละเอียดความคืบหน้าของแผนงานเทียบกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ

กรุงเทพ30มิถุนายน 2566–เอชพีเผยผลวิจัยระดับโลกฉบับใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจของพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมากที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่การตัดสินใจในชีวิตประจำวันตลอดจนการวางแผนครอบครัวระยะยาว

จากผลการวิจัยพบว่ามากถึง91%ของพ่อแม่ผู้ปกครองกังวลเกี่ยวกับวิกฤตสภาพอากาศซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อของโดยมากกว่าครึ่ง (53%) ส่งผลต่อมุมมองของพวกเขาในการมีลูกเพิ่มและยังพบว่าผู้ปกครองจำนวนมากชอบบริษัทที่จัดการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศและคาดหวังให้ภาคธุรกิจเป็นผู้นำในประเด็นนี้ผู้ปกครองเกือบสองในสาม (64%) เลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแหล่งที่ยั่งยืนและกว่า60%กล่าวว่าแนวปฏิบัติของบริษัทที่ยั่งยืนมีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อของพวกเขา

ความเต็มใจที่จะแสวงหาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและการตัดสินใจแบบนี้เกิดขึ้นถึงแม้ว่าผู้ทำแบบสอบถามส่วนใหญ่ (84%) ยอมรับว่าค่าครองชีพสูงขึ้นและมากกว่าครึ่ง (57%) เชื่อว่าการมีส่วนร่วมในแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก

ในขณะที่ผู้ปกครองมีแนวทางการจัดการในแบบของตัวเองผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าผู้เล่นหลักในโลกธุรกิจควรมีส่วนร่วมในการจัดการด้วยเช่นกันจากการสำรวจทั่วโลกพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ (51%) เชื่อว่าบริษัทต่างๆมีความรับผิดชอบ“อย่างมาก” ในการรับผิดชอบต่อการจัดการด้านสภาพอากาศเมื่อเทียบกับลูกค้าของบริษัทเหล่านั้น (36%)

การวิจัยในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเอชพีเผยแพร่รายงานประจำปีด้านความยั่งยืน ฉบับที่ 22 โดยระบุรายละเอียดที่ครอบคลุมและชัดเจนเกี่ยวกับความคืบหน้าของบริษัทต่อการบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

  • ในปีพ.ศ. 2562 เอชพีมีส่วนในการลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ถึง18%ซึ่งทำให้บริษัทเข้าใกล้เป้าหมายในการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี2583ได้มากยิ่งขึ้น
  • ช่วยลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวลงถึง55%เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2561
  • ต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าไปแล้วกว่า41%ของกระดาษทั้งหมดที่ใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการของเอชพีจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่100%
  • เร่งสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลให้กับผู้คนมากกว่า21ล้านคนจากเป้าหมายที่150ล้านคนภายในปีพ.ศ. 2573

โดยในประเทศไทย เอชพี มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียมทางดิจิทัลทั้งภายในและภายนอกองค์กรซึ่งในปีนี้อาสาสมัครของเอชพี ประเทศไทย ได้เข้าร่วมโครงการ ‘make’ HappY Communityส่งเสริมให้พนักงานที่มีจิตอาสาไปร่วมทำกิจกรรมกับองค์กรสาธารณกุศล7 องค์กรอาทิสภากาชาดไทยและมูลนิธิเพื่อคนตาบอดเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสนอกจากนั้น เอชพียังได้ร่วมมือกับองค์กรสาธารณกุศลหลากหลายเพื่อมอบอุปกรณ์ไอทีสำหรับการเรียนรู้และให้ความรู้แก่นักเรียนภายในโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัล

ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 50% ที่เป็นผู้หญิง เอชพี ได้ลงทุนในการพัฒนาความเป็นผู้นำและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในความเท่าเทียมระหว่างเพศผ่านโครงการต่างๆ อาทิโครงการWomen in Leadership Lab (WILL) และ โครงการ Women Impact Network (WIN) Thailand

“ที่เอชพีเรามุ่งมั่นที่จะสร้างความแตกต่างในชุมชนของเราเรามีความก้าวหน้าอย่างมากด้วยผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในเส้นทางสู่ความยั่งยืนและเชื่อว่าการแก้ปัญหาด้านสภาพอากาศและปัญหาในชุมชนนั้นควรเป็นความพยายามร่วมกันจากทุกภาคส่วนทางเราจะยังคงร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ในการริเริ่มสร้างความยั่งยืนซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้คนธุรกิจและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย” วรานิษฐ์ อธิจรัสโรจน์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี ประเทศไทย กล่าว

เอชพีมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและสร้างความเท่าเทียมมากที่สุด โดยในปีพ.ศ.2564 เอชพีตั้งเป้าหมายสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนในเชิงรุก 3 ด้านโดยบริษัทเชื่อว่าสามารถสร้างความแตกต่างได้มากที่สุด ประกอบไปด้วย การจัดการด้านสภาพอากาศ สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมทางดิจิทัล ในรายงานประจำปีพ.ศ.2565 ระบุรายละเอียดความคืบหน้าของประเด็นสำคัญทั้งสามด้าน ได้แก่ ห่วงโซ่ค่าคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การตอบแทนป่าไม้มากกว่าที่ได้รับ การสร้างเศรษฐกิจระบบหมุนเวียนมากขึ้นสร้างวัฒนธรรมแห่งความเท่าเทียมและเสริมสร้างความเสมอภาคทางดิจิทัลทั่วโลกเพื่อช่วยให้ชุมชนที่ถูกกีดกันเติบโตขึ้นในเศรษฐกิจดิจิทัล

 

Tagged:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *