จับมือสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครร่วมโครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น
ฟื้นฟูระบบนิเวศขั้นพื้นฐานเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์นกในเมืองอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 25 กันยายน2566 – บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด (Canon)ร่วมมือกับสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร นำพนักงานจิตอาสาร่วมกิจกรรมโครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้นของกรุงเทพมหานคร ณ สวนเบญจกิติโดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่หลากหลายให้เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงสายพันธุ์นกในเมืองโดยแคนนอนได้กำหนดให้กิจกรรมสิ่งแวดล้อมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของBird Branch Project ครั้งที่ 5เพื่อขยายขอบเขตการดำเนินของโครงการที่ไม่ใช่แค่การผลิตและติดตั้งบ้านนก แต่ยังครอบคลุมถึงการส่งเสริมระบบนิเวศตั้งแต่ต้นน้ำซึ่งจะส่งผลถึงการอนุรักษ์สายพันธุ์นกในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
นายพงษ์เทพ ประเสริฐวรนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและ CSR บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า “สำหรับBird Branch Project ครั้งที่ 5 แคนนอนได้ร่วมมือกับสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร สืบสานโครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้นเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็นกำแพงกรองฝุ่นดูดซับคาร์บอนในเมือง โครงการนี้ยังช่วยส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพและปรับปรุงระบบนิเวศให้มีความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลถึงการเพิ่มที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสายพันธุ์นกในเมือง ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ Bird Branchอย่างลงตัว โดยแคนนอนได้นำพนักงานจิตอาสาของบริษัทร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้จำนวน 106ต้นในสวนเบญจกิติภายใต้คำแนะนำของนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมสร้างป่านิเวศที่เหมาะสมและเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์สายพันธุ์นกต่าง ๆ อย่างแท้จริง”
โครงการCanon Bird Branch Projectริเริ่มโดยบริษัท แคนนอน อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สายพันธุ์นกในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากนกเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่ชัดเจนมากที่สุด โดยแคนนอน มาร์เก็ตติ้งประเทศไทยได้นำแนวคิดนี้มาออกแบบกิจกรรมสาธารณประโยชน์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2564 และการร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ที่สวนเบญจกิติกับกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ นับเป็น Bird Branch Project ครั้งที่ 5ในประเทศไทย สำหรับสวนเบญจกิติถือเป็นสวนป่ากลางเมืองกรุงเทพฯ มีเนื้อที่ประมาณ 450ไร่ นอกจากจะเป็นปอดใจกลางเมืองที่ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งรวมพรรณไม้ จึงเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์เล็ก ๆ และสายพันธุ์นกอีกเป็นจำนวนมาก
นายสุธานีย์ แสนกล้า นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ สวนเบญจกิติ สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครรับหน้าที่วิทยากรและผู้ให้คำแนะนำแก่พนักงานจิตอาสาแคนนอนในกิจกรรมครั้งนี้ กล่าวว่า “การปลูกต้นไม้ในสวนเบญจกิติจะใช้แนวทางการสร้างระบบนิเวศขนาดเล็กที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและให้ความรู้กับประชาชนได้แบบครบวงจร โดยเราจะปลูกต้นไม้ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ 1.ต้นไม้เพื่อเป็นอาหารของสัตว์และนก 2.ต้นไม้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชสมุนไพรไทย และ 3.ต้นไม้เพื่อการสร้างป่านิเวศ (Eco-forest) ตามทฏษฎีการปลูกป่าแบบมิยาวากิ”
การปลูกป่านิเวศแบบมิยาวากิ (Miyawaki Reforestation)คิดค้นโดย ศจ.ดร.อาคิระ มิยาวากิ นักพฤกษศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮามาประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูและเสริมสร้างป่านิเวศด้วยการปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน โดยก่อนทำการปลูกจะมีการสำรวจ ปรับปรุงคุณภาพ และเตรียมสภาพดินให้เหมาะสม และใช้เทคนิคการปลูกที่หลากหลายทั้งการปลูกต้นไม้เป็นชั้น การปลูกแบบถี่ สลับ และแบบสุ่ม ให้ใกล้เคียงกับสภาพป่าธรรมชาติ ช่วยให้ต้นไม้แต่ละต้นมีอัตรารอดสูงและสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรงสมบูรณ์ที่สุด
“แคนนอน ประเทศไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบนิเวศที่สมบูรณ์ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการอนุรักษ์พันธุ์นกท้องถิ่น ในครั้งนี้ เมื่อเรากำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็นสวนเบญจกิติของกรุงเทพมหานครฯ ทำให้เราพบว่าป่าในเขตเมืองยังมีความเสื่อมโทรมเพราะต้องผจญกับมลพิษมากกว่าในต่างจังหวัด เราจึงขยายขอบเขตงานจิตอาสาไปสู่การฟื้นฟูป่าในเมืองเป็นอันดับแรก เพื่อสร้างระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์และสามารถต่อยอดสู่การสร้างบ้านนกต่อไป เพื่อให้โครงการ Bird Branch Projectสามารถอนุรักษ์สายพันธ์นกท้องถิ่นในเมืองไทยได้อย่างยั่งยืน” นายพงษ์เทพ ประเสริฐวรนันท์ กล่าว
ผู้ที่สนใจโครงการ Canon Bird Branch Project สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Canon Bird Branch Project | Canon Global