ไมโครซอฟท์เดินหน้าเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เผยความคืบหน้าโครงการ “AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry”

สุพรรณบุรี7มิถุนายน2567 – ไมโครซอฟท์ประเทศไทย ลงพื้นที่นำทักษะ AI ยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวภายใต้โครงการพัฒนาทักษะ AI เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
(AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับรัฐบาลไทยและแผนงานต่างๆ ที่ได้ประกาศไปในโอกาสที่ประธานกรรมการและซีอีโอของไมโครซอฟท์ นายสัตยา
นาเดลลาเดินทางมาเยือนประเทศไทยในงาน Microsoft Build: AI Dayเมื่อไม่นานมานี้

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวปี 2567 สูงถึง 3 ล้านล้านบาทสอดคล้องกับสถิติการเติบโตของ GDP ไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ ที่ผลผลิตของธุรกิจในสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารมีอัตราการเติบโตสูงถึง 11.8% และธุรกิจสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เติบโตขึ้น 9.4% โดยได้รับแรงขับเคลื่อนมาจากภาคการท่องเที่ยว[1]ไมโครซอฟท์ ประเทศไทยจึงได้ปักหมุดนำร่องแผนยกระดับทักษะด้าน AIให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอันดับแรก ผ่านโครงการ AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการยกระดับทักษะที่สำคัญ พร้อมแนะนำแนวทางการประยุกต์ใช้นวัตกรรม AIเช่น Copilot และเทคโนโลยีต่างๆ จากไมโครซอฟท์ที่สนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวซึ่งนับเป็นการเสริมความแข็งแกร่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับภาคการท่องเที่ยว

คุณสุภารัตน์ จูระมงคลผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคมประจำภูมิภาคอาเซียนของไมโครซอฟท์ เผยถึงโครงการนี้ว่า “ไมโครซอฟท์เชื่อมั่นในพลังของเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงและสร้างโอกาสให้กับทุกคนผ่านแผนยกระดับทักษะด้าน AI ให้บุคลากรในภูมิภาคอาเซียนสำหรับประเทศไทยชูโครงการ AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry ช่วยปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ธุรกิจด้านบริการและการท่องเที่ยวเปิดกิจกรรมนำร่องในพื้นที่เมืองโบราณอู่ทอง ให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดที่มีอยู่เดิม และสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ เช่นการนำเครื่องมือ AI มาพัฒนาชิ้นงานประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลดึงดูดนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งเป็นผู้ช่วยในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จุดประกายไอเดียสร้างสรรค์เพื่อนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ รวมถึงสามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อแนะนำหรือเสนอแผนการท่องเที่ยวที่ตอบสนองกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความชื่นชอบ และความต้องการที่หลากหลายแตกต่างกันไปได้ดียิ่งขึ้น”

สำหรับหลักสูตรแรกของโครงการนี้ ไมโครซอฟท์ได้จับมือกับพันธมิตรอย่างมูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย พร้อมประสานงานกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)เพื่อนำทักษะเชิงดิจิทัลและ AI ไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีส่งเสริมการท่องเที่ยวพื้นที่เมืองรอง ทั้งยังนำเนื้อหาจากการเรียนการสอนไปเผยแพร่และขยายขอบเขตของโครงการออกไปผ่านเครือข่ายพันธมิตรด้านการเสริมสร้างทักษะของไมโครซอฟท์ทั่วไทยได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถร่วมเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงตั้งเป้าเพิ่มทักษะให้แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จำนวน 70,000 รายที่เกี่ยวข้องอยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวในเมืองรองทั่วทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศไทย

ดร. สมจินต์ ชาญกระบี่ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทองกล่าวว่า“อพท. ได้เริ่มเข้ามาพัฒนาพื้นที่เมืองโบราณอู่ทอง ให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตั้งแต่พ.ศ. 2555 มุ่งเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กำหนดเป้าหมายการพัฒนา ภายใต้วิสัยทัศน์ “เมืองสร้างสรรค์การท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิม” เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ในการนำ AI และเทคโนโลยีล้ำสมัยอื่นๆ มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และหวังว่าพลังจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และการนำศักยภาพของ AI มาประยุกต์ใช้จะยกระดับให้เมืองอู่ทองเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น ส่งพื้นที่เมืองโบราณอู่ทองเกิดการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ”

สำหรับเนื้อหาในหลักสูตรพัฒนาทักษะAI นี้ครอบคลุมทั้งการใช้งาน AI เบื้องต้นผ่าน Microsoft Copilotการสร้างผลงานกราฟิกดีไซน์และคอนเทนต์หลากหลายรูปแบบด้วยผู้ช่วย AI อย่าง Microsoft Designerและแอปตัดต่อวิดีโอ Clipchamp รวมถึงการสร้างเว็บไซต์และเอกสารการตลาดอย่างง่ายด้วย Swayและคำแนะนำในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปปรับใช้ในหลากหลายสถานการณ์และบทบาทหน้าที่ นับตั้งแต่เจ้าของกิจการไปจนถึงพนักงานผู้ให้บริการนักท่องเที่ยว

คุณประยูรอสัมภินพงศ์ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเมืองโบราณทวารวดี ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากพื้นที่เมือง
อู่ทอง กล่าวเสริมว่า “การสนับสนุนชุมชนเล็กๆ ให้แข็งแรง เป็นแนวทางที่ดีในการส่งเสริมให้ประเทศไทยแข็งแรงขึ้น มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลกได้มากขึ้น ในโอกาสนี้ เราขอขอบคุณทางไมโครซอฟท์ที่เข้ามาปูทางให้วิสาหกิจชุมชนสร้างโอกาสในการเติบโตสู่ตลาดต่างประเทศ โดยนำความสามารถของ AI เข้ามาช่วยสร้างสรรค์เนื้อหาต่างๆ ในหลากหลายภาษา เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในระดับชุมชนเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น และพัฒนาสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดด”

 

ทางด้านคุณษรณารินทร์บุญอำไพไชยกุลเหรัญญิก ของชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเมืองโบราณทวารวดีอู่ทอง เล่าถึงความประทับใจจากโครงการว่า “เทคโนโลยีอย่าง Copilot ที่ทางไมโครซอฟท์นำมาแนะนำ ช่วยให้เราได้มองเห็นอีกมุมหนึ่งของความยั่งยืนในการทำธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ประกอบการในชุมชนสามารถพึ่งตัวเองได้มากขึ้น เราสามารถสร้างและแก้ไขชิ้นงานต่างๆ ได้รวดเร็วโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม และยังใช้งานง่าย แม้แต่ผู้ประกอบการที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ตอบโจทย์ในการโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวและบริการต่างๆ ของเราผ่านทางช่องทางโซเชียลหรือทำเว็บไซต์ได้โดยที่ไม่ต้องมีระบบซับซ้อนรวมถึงการหาไอเดียในการขยายธุรกิจและสินค้าใหม่ๆ ให้โดนใจมากขึ้น”

ผู้สนใจในโครงการ AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry สามารถค้นหาข้อมูลและติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการได้ที่aka.ms/AIskills4Tourismและยังสามารถรับชมเนื้อหาจากการเรียนการสอนในโครงการผ่านทางเครือข่ายพันธมิตรด้านการเสริมทักษะทั่วไทยของไมโครซอฟท์ ได้แก่

[1]ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่1/2567โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Loading