งานนี้ถือเป็นพื้นที่สำหรับแบ่งปันความสำเร็จด้านการวิจัยที่จะช่วยเสริมสร้างเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าของซัมซุงรวมถึงการเติบโตของGenerativeAIโดยมีการนำเสนอจากทั้งนักวิจัยระดับแนวหน้า รวมถึงการนำเสนอซัมซุงเกาส์(Samsung Gauss)
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 13 พฤศจิกายน 2566–ซัมซุงเปิดงานซัมซุง AI ฟอรัม 2023เพื่อเป็นพื้นที่นำเสนอความก้าวหน้าล่าสุดด้านAIและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ในยุคต่อไปของ
ซัมซุงโดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านAIและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 1,000 คน งานวันแรกของฟอรัมจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 ที่ศูนย์ประชุมซูวอน จังหวัดคยองกี ประเทศเกาหลี โดยจัดภายใต้หัวข้อหลัก
“Large-scale AI for a better tomorrow” โดยมีสถาบันเทคโนโลยีขั้นสูงของซัมซุง SAIT (the Samsung Advanced Institute of Technology) เป็นเจ้าภาพในขณะที่งานวันที่สองนั้น จัดขึ้นโดยมีซัมซุงรีเสิร์ชเป็นเจ้าภาพ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาของซัมซุงในกรุงโซล ประเทศเกาหลี
คเย ฮยุน คยุง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแผนกโซลูชันอุปกรณ์ ซัมซุงอิเลคโทรนิคส์ กล่าวในตอนหนึ่งของคำกล่าวเปิดงานว่า “ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เทคโนโลยี GenerativeAIเป็นสิ่งที่กำลังถูกจับตามอง เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ช่วยเสริมศักยภาพให้เราสามารถค้นพบโซลูชันใหม่ๆ หรือแก้ไขอุปสรรคที่แก้ไขไม่ได้มานาน อย่างไรก็ดีความต้องการในการวิจัยเชิงลึกทั้งด้านความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และความยั่งยืนของ AI นั้นก็เพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกันด้วย”
ผู้พูดหลักในงาน SAIF 2023 จากซ้ายไปขวา; ศาสตราจารย์โยชัว เบนจิโอ มหาวิทยาลัยมอนทรีออล,คเย ฮยุน คยุง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แผนกโซลูชันอุปกรณ์ ซัมซุงอิเลคโทรนิคส์, จิม เคลเลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทนส์ทอร์เรนท์
งานในวันแรกนั้นได้พูดถึงสองหัวข้อหลัก ดังนี้ ความปลอดภัยของ AI โดยศาสตราจารย์โยชัว เบนจิโอ จากมหาวิทยาลัยมอนทรีออล เสนอแนวทางการใช้การเรียนรู้ของเครื่องจักรเพื่อปกป้องโมเดลภาษาขนาดใหญ่ไม่ให้พัฒนาไปสู่ทิศทางที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้พัฒนา และการพัฒนาสารกึ่งตัวนำโดยใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ โดยจิม เคลเลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทนส์ทอร์เรนท์ เสนอแนวทางการใช้สถาปัตยกรรมชุดคำสั่งระบบเปิด (open instruction set architecture) สำหรับหน่วยประมวลผลประเภท RISC-V เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านการออกแบบฮาร์ดแวร์ของ AI
ในงานวันที่สองนั้นมีทีมงานของซัมซุงรีเสิร์ชเป็นผู้นำและมี GenerativeAIเป็นหัวใจหลักของงาน การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี GenerativeAIถือเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่คาดหมายกันว่าจะปรับเปลี่ยนทั้งวิถีชีวิตและการทำงาน
จึงได้มีการจัดฟอรัมที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านAI จากหลากหลายอุตสาหกรรมและจากแวดวงวิชาการมาร่วมอภิปรายแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนานำเสนอเทรนด์ล่าสุดทางเทคโนโลยี และซัมซุงเกาส์ โมเดล GenerativeAIที่พัฒนาโดยซัมซุงรีเสิร์ช
“เรายังคงมุ่งมั่นสนับสนุนและร่วมมือทางด้านGenerativeAIกับทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาควิชาการ” แดฮยุน คิม รองประธานบริหารของศูนย์AIสากล ซัมซุงรีเสิร์ช (the Samsung Research Global AI Center) กล่าวในตอนหนึ่งของคำกล่าวเปิดงาน
ในช่วงการอภิปรายช่วงแรกของภาคเช้า ดร. ฮยุง วอน ชุง จากOpenAI บริษัทวิจัยและประยุกต์ใช้AI อธิบายถึงกระบวนการทำงานของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (large language models- LLMs) ในช่วงหนึ่งของคำกล่าวหัวข้อ “โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (ในปี 2023)” อีกทั้งยังกล่าวถึงอุปสรรคที่OpenAIพบในแต่ละขั้นตอน และยังคาดการณ์ทิศทางในอนาคต ตามด้วย เจสัน เหว่ย นักวิจัยของOpenAIและผู้เขียนบทความวิจัยเรื่อง “ห่วง-โซ่-ความคิด Chain-of-Thoughts” นำเสนอถึงเหตุผลที่โมเดลภาษาขนาดใหญ่จะช่วยผลักดันการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านAI ในการนำเสนอหัวข้อ “กระบวนทัศน์ใหม่ในยุครุ่งเรืองของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ -New Paradigms in the Large Language Model Renaissance.”
นอกจากนี้ ฮองซุก เซา ศาสตราจาย์จากมหาวิทยาลัยเกาหลี ขึ้นกล่าวในหัวข้อ “ก้าวสู่AIแบบมัลติโมเดลที่สนทนาได้ — Towards multimodal conversational AI.” โดยนำเสนอเทรนด์ต่างๆ ด้าน AI แบบมัลติโมเดล ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูลหลากหลายประเภท รวมไปถึงข้อความและภาพได้พร้อมกัน
ซึงวอน ฮวาง ศาสตราจาย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ได้นำเสนอกระบวนการค้นหาและกระบวนการสร้างโค้ดที่มีประสิทธิภาพโดยมีรากฐานจาก GenerativeAIโดยมีทีมของ ศาสตราจาย์กุนแฮ ร่วมสาธิตการใช้กระบวนการมัลติโมเดลเพื่อช่วยกระบวนการการให้เหตุผลเชิงปริภูมิ (spatial reasoning)
ร่วมด้วยศาสตราจาย์มินจอน โซ จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเกาหลี (the Korea Advanced Institute of Science and Technology — KAIST) แนะนำเกี่ยวกับขีดความสามารถทางการประเมินผลแบบละเอียดที่อยู่ในโมเดลภาษาต่างๆ นอกจากนี้ยังมีทีมงานนำโดย ศาสตราจาย์จองฮยุน ชอย จากมหาวิทยาลัยยอนเซ ขึ้นกล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเปลี่ยนข้อความเป็นภาพ ซึ่งใช้เทคโนโลยีเพื่อทำความเข้าใจบริบทในหลากหลายประโยคที่ยาวและซับซ้อนให้เป็นภาพ
ผู้ร่วมงานจะได้รับชมการนำเสนอซัมซุงเกาส์และเทคโนโลยี AIซึ่งโมเดลปัญญาประดิษฐ์ของซัมซุงประกอบด้วยส่วน
โมเดลภาษา (Samsung Gauss Language) โมเดลโค้ด (Samsung Gauss Code) และโมเดลด้านภาพ (Samsung Gauss Image) โดยชื่อซัมซุงเกาส์มาจากชื่อของคาร์ล ฟริดริช เกาส์ นักคณิตศาสตร์ระดับตำนานผู้คิดค้นทฤษฎีการแจกแจงแบบปกติ (normal distribution theory) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรและAIการใช้ชื่อซัมซุงเกาส์ยังสะท้อนถึงวิสัยทัศน์สูงสุดของซัมซุงสำหรับโมเดล AI เหล่านี้ โดยใช้ปรากฎการณ์และความรู้ทั่วมาช่วยยกระดับวิถีชีวิตของผู้บริโภคทั่วโลก
โมเดลภาษา(Samsung Gauss Language) เป็นโมเดล Generativeด้านภาษาที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานโดยช่วยเสริมการทำงานต่างๆ เช่น การเขียนอีเมล สรุปเอกสาร และแปลเนื้อหา นอกจากนี้ เมื่อผสานโมเดลนี้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ โมเดลนี้ยังช่วยเสริมประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคโดยช่วยให้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้แบบอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น
โมเดลโค้ดSamsung Gauss Code และระบบช่วยโค้ด (code.i) ทำงานโดยใช้โมเดลซัมซุงเกาส์ โค้ดเป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของซัมซุง โมเดลนี้ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนโค้ดได้ง่ายและเร็วขึ้น โมเดลนี้รองรับฟีเจอร์ต่างๆเช่น การอธิบายโค้ด และการสร้างกรณีทดสอบต่างๆ โดยใช้ส่วนประสานผู้ใช้แบบอินเตอร์แอคทีฟ
โมเดลด้านภาพSamsung Gauss Image เป็นโมเดล Generativeด้านภาพที่สามารถสร้างและแต่งภาพแบบครีเอทีฟได้ รวมถึงการเปลี่ยนสไตล์และแต่งเติมสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนภาพจากความละเอียดต่ำให้สูงขึ้นได้
ปัจจุบันซัมซุงนำซัมซุงเกาส์ มาใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับพนักงาน และพร้อมจะขยายการใช้งานไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ
ซัมซุงเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานใหม่ๆ ในอนาคตอันใกล้
ซัมซุงไม่เพียงแต่พัฒนาเทคโนโลยีAI แต่ยังพัฒนาโครงการต่างๆ ที่จะช่วยให้การใช้AIเป็นสิ่งที่ปลอดภัย โดยทีมเอไอเรดทีม(AI Red Team)ของซัมซุงจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำจัดหรือติดตามภัยคุกคามทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอน ทั้งการรวบรวมข้อมูลไปจนถึงการพัฒนาโมเดลAI การเริ่มประยุกต์ใช้โมเดล และผลลัพธ์ที่มาจากAI โดยคำนึงถึงหลักการจริยธรรมด้านAI