กรุงเทพฯ 18กันยายนพ.ศ. 2566 –ปัจจุบันเทคโนโลยีคลาวด์ กลายเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่แทบทุกองค์กรในประเทศไทยหันมาปรับใช้ในกระบวนการทำงานของตนเองกันอย่างพร้อมเพรียงกันเพราะคลาวด์ถือเป็นตัวแปรหลักที่สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน พัฒนาประสิทธิภาพของการทำงานในองค์กร และที่สำคัญคือสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจจากการลดต้นทุนและส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า จุดแข็งที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้องค์กรต่างๆ ในบ้านเรา ตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่มาจนถึงขนาดเล็กอย่างเอสเอ็มอี ต่างปรับตัวมาใช้งานคลาวด์กันอย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมที่ต่างกันก็มีความต้องการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป และการเกิดขึ้นของรูปแบบธุรกิจหรือบริการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องก็ยิ่งทำให้ภาคองค์กรไทยมีความต้องการที่จะติดตั้งและใช้บริการคลาวด์ที่หลากหลายยิ่งขึ้นตามไปด้วย บริการของเทคโนโลยีคลาวด์ในอนาคตจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น ไร้ขอบเขตรองรับฟีเจอร์ทุกรูปแบบที่องค์กรไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่างมองหา
นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับทิศทางของเทคโนโลยีคลาวด์สำหรับองค์กรในอนาคตว่าหัวเว่ยเชื่อว่าเสาหลักสำคัญของคลาวด์แห่งอนาคตคือการมีสถาปัตยกรรมที่สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ รองรับข้อจำกัดของการประกอบกิจการที่แตกต่างกันไปโดยหัวใจสำคัญคือเทคโนโลยีคลาวด์ในยุคใหม่ต้องสามารถปรับแต่งบริการสำหรับลูกค้าให้ตอบสนองเทรนด์ของการดำเนินธุรกิจได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยมีฟีเจอร์สำคัญ3 ข้อ ดังต่อไปนี้:
- สถาปัตยกรรมแบบไร้ขอบเขต (Regionless Architecture) ฟีเจอร์ที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้บริการเทคโนโลยีคลาวด์ได้แม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอีกทั้งยังสามารถใช้บริการคลาวด์ได้จากพื้นที่ทั้งภายในประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยเราเรียกเทคโนโลยีคลาวด์นี้ว่า Global Cloud Resource Orchestration & Scheduling (GOS) ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ล้ำสมัยกว่าเดิมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หากองค์กรต้องการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือเน้นเรื่องความยั่งยืน(Go Green)หัวเว่ยก็สามารถช่วยกำหนดได้ว่าเราควรจะใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการใดที่จะมาช่วยลดผลกระทบกับทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องโครงข่ายและยังช่วยจัดระเบียบศูนย์ข้อมูล (Data Center) ให้ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนหรือโยกย้ายได้ตามต้องการ ในส่วนของแอปพลิเคชัน หัวเว่ยยังมีฟีเจอร์ Ubiquitous Cloud Native Service (UCS) ที่จะช่วยจัดการระบบคลาวด์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) คลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) หรือไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud) โดยมีจุดเด่นในเรื่องที่สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกได้โดยใช้เวลาไม่ถึงนาที มอบอิสระในการกระจายบริการไปยังประเทศต่างๆ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วจากที่ไหนก็ได้ อีกทั้งยังมีค่าความหน่วง (Latency)ที่ต่ำอีกด้วย
- การประมวลผลผ่านเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Computing)คลาวด์ของหัวเว่ยมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบต่างๆ สามารถทำงานสอดประสานกันได้เป็นอย่างดี ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว และที่สำคัญคือมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI)มาประยุกต์ใช้เพื่อกระจายกำลังการทำงาน ดึงทรัพยากรส่วนที่ยังไม่ถูกใช้งานมาเสริมส่วนที่กำลังใช้งาน เพื่อส่งมอบประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุดและราบรื่นที่สุดให้แก่ลูกค้า
ทั้งนี้เทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยยังสามารถนำไปใช้งานเป็นโครงส้รางพื้นฐานร่วมกับเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในปัจจุบันอย่างเทคโนโลยี AI ได้ด้วยเช่นกัน โดย ดร. กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร ตัวแทนจากสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทยได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า“ส่วนตัวผมใช้งานคลาวด์ของหัวเว่ยแล้วรู้สึกประทับใจมาก เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงจนเรียกได้ว่า Zero Downtimeตั้งแต่ผมใช้งานมายังไม่เคยมีช่วงไหนที่ระบบขัดข้องสักครั้ง นอกจากนี้ การรับส่งข้อมูลก็มีความรวดเร็ว มีค่าความหน่วง (Latency) ต่ำ ทำให้เราสามารถใช้ในการตรวจจับวัตถุด้วยเทคโนโลยี AI ผ่านการสตรีมภาพวิดีโอจากสถานที่จริง ช่วยให้พนักงานไม่ต้องเดินทางไปที่หน้าไซต์งาน โดยระหว่างการใช้บริการก็จะมีเจ้าหน้าที่จากหัวเว่ยคอยให้คำปรึกษาตลอดทำให้เหมาะกับคนที่ต้องการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ประสิทธิภาพสูง ที่มาพร้อมกับการบริการที่ดีในราคาที่ย่อมเยา”
- การบริหารจัดการการทำงานของแอปพลิเคชันบนคลาวด์ (Cloud ApplicationOperation) ฟีเจอร์ดังกล่าวจะช่วยส่งมอบคุณภาพด้านเครือข่าย (Network) ที่ดีขึ้นและสามารถทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลก เช่น หากต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลไปที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ระบบจะค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดในภูมิภาคนั้น เพื่อให้ส่งต่อข้อมูลได้ไว ลดค่าความหน่วง (Latency)ให้น้อยที่สุด ทำให้บริการคลาวด์นั้น ๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าในหลายภูมิภาค (Multiple Region)ได้รวดเร็วกว่าเดิมและมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง
หัวเว่ยยังได้ชูวิสัยทัศน์ที่ต้องการสร้างซุปเปอร์คลาวด์คอมพิวติ้ง (Super Cloud Computing) ให้เป็นเสมือนคลาวด์หนึ่งเดียวทั่วโลก เพื่อให้เกิดเป็นการใช้เทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟแบบไร้ขอบเขตและไร้รอยต่อ(Regionless) อย่างแท้จริงลดข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ที่เกิดจากการให้บริการคลาวด์ที่ยังคงยึดติดกับพื้นที่ในการให้บริการ ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือใช้เวลายาวนานเกินความจำเป็นและอาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเป็นแต้มต่อในการแข่งขัน รวมทั้งองค์กรอาจต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้คลาวด์เนทีฟแบบไร้ขอบเขตจะช่วยให้การเชื่อมต่อใช้งานระหว่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว มีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะเสียหายต่ำ เนื่องจากระบบอัจฉริยะจะช่วยเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูล โดยทั้งหมดนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคลาวด์ให้แก่องค์กรได้อีกด้วย
การก้าวข้ามขีดจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตของการให้บริการคลาวด์ตามหลักของหัวเว่ยคือ การนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์ที่ใช้งานได้แบบไร้ขอบเขต ใช้ได้จากทุกที่ทั่วโลก ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยตอบรับเทรนด์ของการดำเนินธุรกิจในอนาคตและยังสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น มีโอกาสขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายรูปแบบจากความยืดหยุ่นทางธุรกิจที่มากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคก็จะได้ประโยชน์จากการได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหนก็สามารถได้รับการให้บริการที่ได้มาตรฐานระดับโลก
ทั้งนี้หัวเว่ย คลาวด์ สนับสนุนการขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับอีโคซิสเต็มของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องผ่านการสนับสนุนพาร์ทเนอร์สำคัญทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ทั้งแบบคลาวด์ส่วนตัว คลาวด์สาธารณะ หรือไฮบริดคลาวด์ รวมถึงกลยุทธ์การให้บริการคลาวด์ในรูปแบบ Everything as a Service สอดคล้องกับพันธกิจของหัวเว่ยในการ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย”และการผลักดันประเทศไทยในการก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียนในอนาคตอันใกล้