Garmin ฉลองครบรอบ 20 ปี ให้กับ Forerunner สมาร์ทวอทช์ระบบ GPS เรือนแรกของโลก จัด Night of Forerunner ไนท์อีเว้นท์สุดมันส์! ใส่ไม่ยั้งทั้งแสง สี เสียง อาหาร มาพร้อมเรซประเภทเดี่ยวระยะ 3,000 เมตร และประเภททีมระยะ 4×2,000 เมตร

Garmin Night of Forerunner ณ สนามจุฬาลงกรณ์ มีการจัดพิธีเปิดที่น่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณหรรษา อาภานุกูล ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด การ์มิน ประเทศไทย มาร่วมในช่วงเปิดกิจกรรม ในงานมีนักกีฬาพร้อมกองเชียร์จากทั่วประเทศรวมกว่า 700 คน นอกจากนี้ยังมี ทีมนักวิ่งและโค้ชจาก Garmin Run Club นำทีมโดย โค้ชแชมป์ พิพัฒน์พน อิงคนนท์ ณัฐวัฒน์-ณัฐวุฒิ อินนุ่ม นักกีฬาอาชีพ ปลา ลินดา จันทะชิต นักกีฬาตัวแทนประเทศไทย และผู้มีชื่อเสียงมากมายมาร่วมลงแข่งขันเพื่อสร้างสีสันให้กับค่ำคืนที่น่าจดจำของ Night of Forerunner

   

พิเศษไปกว่านั้น ภายในงานยังมีโซนกิจกรรมมากมาย ตั้งแต่การจัดแสดงประวัติความเป็นมาของ Forerunner ตั้งแต่รุ่นแรก จนปัจจุบันที่เล่าถึงวิวัฒนาการของ GPS สมาร์ทวอทช์เรือนแรกของโลก ฟู้ดทรัคที่คอยเสิร์ฟเบอร์เกอร์ และวาฟเฟิลร้อนๆ ให้กับกองเชียร์ โซนขายของที่ระลึกครบรอบ 20 ปีของ Forerunner ตั้งแต่หมวก เสื้อ กระบอกน้ำ ที่ดีไซน์เฉพาะงานนี้เท่านั้น และบูธกิจกรรมจากพาร์ทเนอร์มากมาย นอกจากนี้ Garmin ยังมีของมาแจกในงานมูลค่ารวมกว่า 100,000 บาท เพื่อให้สมกับเป็นการเฉลิมฉลองที่จัดเต็มในทุกองค์ประกอบและในโอกาสครบรอบ 20 ปี Garmin ยังได้เปิดตัวสมาร์ทวอทช์หน้าจอ AMOLED เรือนแรกสำหรับนักวิ่ง รุ่น Forerunner 965 และ 265 ให้ทุกคนได้สัมผัสภายในงาน 

 

Garmin เข้าสู่อุตสาหกรรมการบินเป็นครั้งแรกในปี 1989 ด้วยผลิตภัณฑ์ระบบนำทาง GPS และขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ เรือเดินทะเล และผลิตภัณฑ์สำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง ต่อมาในปี 2000 GPS เริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน จึงถือเป็นช่วงต้นของยุคทองในการใช้งานระบบ GPS จนในที่สุดปี 2003 Garmin ก็ได้นำความเชี่ยวชาญในการสร้างอุปกรณ์ GPS แบบพกพาและความหลงใหลในการวิ่งของวิศวกรในบริษัทมาผสานกัน และเปิดตัวสมาร์ทวอทช์สำหรับวิ่งรุ่นแรกของโลกในชื่อ Forerunner 201 สมาร์ทวอทช์ Forerunner จึงถือเป็นสมาร์ทวอทช์ GPS เรือนแรกของโลกที่ออกแบบโดยนักวิ่งเพื่อนักวิ่ง (Designed by runners, for runners) โดยมีเป้าหมายต้องการช่วยให้นักวิ่งนำข้อมูลที่แม่นยำและซับซ้อน มาใช้ในการฝึกเพื่อความปลอดภัย และสามารถสร้างสถิติใหม่ (New PB) ของตนเองได้ 

 

ทุกเรื่องราวของการวิ่งเกิดขึ้นที่นี่ (Every Run Starts Here) Forerunner จึงไม่ใช่สมาร์ทวอทช์สำหรับการวิ่งอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานักวิ่งไม่เพียงแต่สวมใส่ Forerunner เพื่อใช้ติดตามเส้นทาง และระยะทางของนักวิ่งเท่านั้น แต่ยังช่วยวิเคราะห์ข้อมูลอื่นๆ ของนักวิ่งมากมาย ทั้งความเร็ว ความชัน ลักษณะการวิ่ง ตลอดจนอัตราการเต้นของหัวใจ ออกซิเจนในเลือด การนอนหลับ การหายใจ ความเครียด และสถานะสุขภาพอื่นๆ อีกมากมาย

Forerunner ช่วยขับเคลื่อนศักยภาพของนักวิ่ง ด้วยข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์การวิ่งที่อยู่บนข้อมือของนักวิ่งตลอดมา นอกจากรูปลักษณ์ภายนอกที่ได้มาตรฐานแล้ว Garmin ยังพัฒนา Forerunner ไปสู่การติดตามสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นเก็บข้อมูลระหว่างการฝึกและการฟื้นตัว ล่าสุดเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา Garmin ได้ควบรวมกับ Firstbeat Analytics บริษัทที่มีชื่อเสียงในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสรีรวิทยาชั้นนำของโลก และนำเซ็นเซอร์ที่ได้มาตรฐานของ Firstbeat มาใช้บน Garmin Smartwatch โดยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ Firstbeat จะทำงานตรวจจับความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (HRV) และนำมาวิเคราะห์ประมวลผล เพื่อให้ได้ตัวเลขที่เข้าใจง่ายและแม่นยำ ทั้งระดับความเครียด การนอนหลับ การใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 Max) สถานะการฝึก/โหลด ประสิทธิภาพการฝึก และอัตราการหายใจ นักวิ่งสามารถนำมาต่อยอดเพื่อปรับปรุงแผนการฝึกซ้อมและการพักให้สอดคล้องกับสภาพร่างกาย

การเฉลิมฉลองครั้งสำคัญนี้ Garmin ได้เปิดตัวสมาร์ทวอทช์ Forerunner ใหม่ล่าสุด รุ่น Forerunner 965 และ 265 สำหรับศักราชใหม่นี้ด้วย สำหรับ Forerunner 965 มาพร้อมกับกรอบไทเทเนียม หน้าจอ AMOLED ขนาด 1.4 นิ้ว และอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานถึง 23 วันในโหมดสมาร์ทวอทช์ ซึ่งถือเป็นสถิติอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานที่สุดในโลกสำหรับนาฬิกาวิ่งที่มีหน้าจอ AMOLED 

Forerunner 965 ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ Stamina เพื่อติดตามและช่วยผู้ใช้ให้สามารถจัดการการออกแรงของตนเองได้ตลอดการวิ่งเพื่อให้สามารถจบเรซได้ตามแผนที่วางไว้  และฟีเจอร์ Acute Chronic Workload Ratio ข้อมูลการฝึกแบบเชิงลึกเพื่อให้ผู้ใช้สามารถวางแผนการฝึกหนักและเบาได้ในปริมาณที่เหมาะสม โดย Forerunner 965 ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการวิ่งมาราธอนและไตรกีฬา นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อีกมากมายที่รองรับการฝึกซ้อม เช่น Wrist-Based Running Dynamics ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยละเอียดของ Running Dynamics ได้จากข้อมือโดยไม่ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่น เพื่อปรับฟอร์มในการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นจังหวะวิ่ง ความยาวก้าว ช่วงเวลาแตะพื้น รวมถึงอัตราส่วนของโพสเจอร์ในแนวตั้ง

สำหรับ Forerunner 265 มาพร้อมกับตัวเลือกหน้าจอ AMOLED ขนาด 1.3 นิ้ว ซึ่งมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่สูงสุด 13 วัน หรือหน้าจอ AMOLED ขนาด 1.1 นิ้ว (บน Forerunner 265S) ที่มีอายุการใช้งานแบตเตอรี่สูงสุด 15 วัน Forerunner 265 มีฟีเจอร์มอนิเตอร์สุขภาพมากมาย เช่น VO2 max ความพร้อมในการฝึก และเอฟเฟ็กต์การฝึก 

ทั้งนี้ กิจกรรมสำหรับนักวิ่งของเรายังจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อให้คอมมูนิตี้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พาคนที่รักการวิ่งให้ได้มาเจอกัน โดย Garmin Run Asia Series ประจำปี 2023 จะจัดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และประเทศไทยจะจัดในชื่อ Garmin Run Thailand สำหรับนักวิ่งที่ไม่สะดวกมาร่วมงานที่กรุงเทพฯ Garmin Run Asia Series ได้จัดกิจกรรมแบบเสมือนจริงเพื่อให้สมาชิกนักวิ่งทั่วทั้งเอเชียได้มีโอกาสเข้าร่วม ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Garmin Thailand และ อินสตาแกรม Garmin Thailand

การแข่งขันออฟไลน์ Garmin Run Asia Series ครั้งแรกเริ่มขึ้นในปี 2565 ที่กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ และไทเป โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 20,000 คน ทั้งสามเมือง และการแข่งขันซีรีส์ออฟไลน์จะกลับมาในปี 2023 ที่ เมืองนี้ โดยเพิ่มการจัดที่โฮจิมินห์และจาการ์ตา เพื่อสร้างความท้าทายและความสนุกสนานให้กับนักวิ่ง และเพื่อเปิดโอกาสให้นักวิ่งที่มีเป้าหมายในการทำสติใหม่จาก 5 เมืองใหญ่ของเอเชีย สามารถเอาชนะเป้าหมายของตนเองให้ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *