โนเกีย และ เอ็นทีที ใส่เกียร์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันให้ภาคอุตสาหกรรมไทยด้วย 5G ไร้สายระดับองค์กร

  • ความร่วมมือนี้จะนำไปสู่การใช้งานเครือข่ายไร้สายระดับองค์กรในสถานประกอบการต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยเพื่อเปิดใช้งานระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบอื่น ๆ
  • อุตสาหกรรมด้านการผลิต การทำเหมืองแร่ และเฮลธ์แคร์ เป็นเป้าหมายหลักของแผนอุตสาหกรรม0 ที่จะช่วยเพิ่มผลผลิต ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความปลอดภัยของคนงาน และลดต้นทุนไปในขณะเดียวกัน

วันที่ 30สิงหาคม2566

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – โนเกีย ประกาศความร่วมมือทางธุรกิจกับเอ็นทีที (NTT) เพื่อให้บริการโซลูชันเครือข่ายไร้สายระดับองค์กรสำหรับองค์กรธุรกิจกว่า 3.2 ล้านรายทั่วประเทศไทย เพื่อเร่งเดินหน้าสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างแท้จริงซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความปลอดภัยของคนงานที่สามารถประเมินผลได้ โดยโซลูชัน 5G ไร้สายระดับองค์กรของโนเกียที่ถูกนำไปใช้งานในหลายองค์กรทั่วประเทศ จะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานแอปพลิเคชันสำคัญสำหรับธุรกิจและการใช้งานทั่วทุกภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การทำเหมืองแร่ เฮลธ์แคร์ และการศึกษา

เครือข่ายไร้สายระดับองค์กรถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ในระยะไกลหรือในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมที่ไม่เอื้ออำนวยอาทิพื้นที่ซึ่งสัญญาณWi-Fi ให้บริการได้ไม่เต็มที่โดยเครือข่ายไร้สายระดับองค์กรสามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยแบนด์วิดท์สูงและมีความหน่วงต่ำที่เชื่อถือได้ซึ่งจำเป็นต่อการใช้งานในอุตสาหกรรม4.0ที่มาพร้อมความปลอดภัยสูงพร้อมใช้งานตลอดเวลาตลอดจนสมรรถนะในการใช้งานสำหรับแอปพลิเคชันสำคัญของธุรกิจความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วประเทศไทยให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากIndustrial IoT (IIOT), Machine Learning (ML) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้อย่างเต็มที่

ความร่วมมือนี้ครอบคลุมถึงโซลูชันเครือข่ายอันล้ำสมัยต่างๆของโนเกียไม่ว่าจะเป็นNokia Digital Automation Cloud (DAC), เครือข่ายอัตโนมัติรวมทั้งแพลตฟอร์มIndustrial Digitalization Edge และMX Industrial Edge (MXIE) ด้วยเทคโนโลยีและทรัพยากรของเอ็นทีทีและโนเกียที่นำมารวมกันในครั้งนี้จะช่วยให้องค์กรธุรกิจไทยในอุตสาหกรรมต่างๆเข้าถึงชุดบริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบas-a-service ที่ช่วยให้สามารถใช้งานในuse case ต่างๆอย่างฝาแฝดดิจิทัล (Digital Twin) ที่เป็นระบบจำลองเสมือนจริงเพื่อติดตามเครือข่ายและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆระบบวิเคราะห์ด้วยภาพวิดีโอและระบบแมชชีนวิชั่น (Machine Vision) พร้อมวิดีโอแบบเรียลไทม์และสตรีมระบบIoT เช่นเดียวกับอุปกรณ์อุตสาหกรรมที่เชื่อมต่อแบบล่วงหน้า (Pre-integrated Industrial Devices) และแอปพลิเคชันต่างๆในแคตตาล็อกได้

สุทัศน์ คงดำรงเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำประเทศไทยบริษัทเอ็นทีทีจำกัดกล่าวว่า “เราดีใจที่ได้ขยายขอบเขตความร่วมมือกับโนเกียและได้นำเครือข่ายไร้สายระดับองค์กรไปปรับใช้ในสถานประกอบการที่เป็นองค์กรธุรกิจมากมายในประเทศไทยความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะช่วยให้อุตสหากรรมไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและแอปพลิเคชัน5G ขั้นสูงสุดได้อย่างเต็มที่และยังเป็นการปลดล็อกการใช้งานที่เป็นระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์และโซลูชันสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลที่จะขับเคลื่อนผลิตภาพและประสิทธิภาพไปพร้อมกับช่วยให้พนักงานปลอดภัยยิ่งขึ้น”

อาร์เจย์ ชาร์มา ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทโนเกียประจำประเทศไทยและกัมพูชากล่าวว่า “เรามีความยินดีที่ได้เป็นพันธมิตรกับเอ็นทีทีและนำโซลูชันเครือข่าย5G ไร้สายระดับองค์กรที่ล้ำสมัยของโนเกียไปใช้งานทั่วประเทศไทยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเป็นที่จับตามองมากขึ้นจากภาคอุตสาหกรรมว่าเป็นหนทางสู่การเติบโตของธุรกิจรวมทั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืนข้อตกลงในครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงเครือข่ายซอฟต์แวร์และโครงสร้างพื้นฐานของโนเกียซึ่งออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานและการยอมรับแอปพลิเคชันอุตสาหกรรม4.0และการใช้งานต่างๆขององค์กรธุรกิจทั่วประเทศไทย”

รากาฟ ซาห์กาล ประธานบริหารด้านบริการคลาวด์และเครือข่ายของโนเกียกล่าวว่า “เราภูมิใจที่ได้สนับสนุนวาระการเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลของรัฐบาลไทยโนเกียวางแผนที่จะเปิดตัวบริการนี้ในตลาดอื่นๆเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นต่อไป”

บริการเครือข่ายสำหรับภารกิจสำคัญของโนเกียได้ถูกนำไปใช้งานโดยลูกค้าประเภทองค์กรธุรกิจชั้นนำมากกว่า2,600รายทั้งในภาคการขนส่งพลังงานองค์กรขนาดใหญ่การผลิตโครงสร้างพื้นฐานแบบwebscaleและหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกนอกจากนี้บริษัทฯยังได้ขยายความเชี่ยวชาญไปยังลูกค้าเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวอีกกว่า635รายทั่วโลกและได้รับการกล่าวถึงในฐานะผู้ให้บริการด้านเครือข่ายไร้สายระดับองค์กรในอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลกโดยนักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมจำนวนมาก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *