วิศวะจุฬา-กสทช.-กทปส.-AIS โชว์ผลทดสอบรถ5G EV ไร้คนขับอัจฉริยะ จุดประกายอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมหนุนประเทศไทยก้าวสู่ Smart City

หลังจากประเทศไทยเริ่มมีการให้บริการ5G เชิงพาณิชย์โดยเอไอเอสเป็นรายแรกในปี2563กสทช. ได้เดินหน้าต่อเนื่องส่งเสริม5G ขับเคลื่อนสร้างประโยชน์และความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจดิจิทัลในอุตสาหกรรมหลักให้ได้มากที่สุดโดยกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ได้ผลักดันให้นำ5G ไปประยุกต์ใช้จึงเกิดเป็นโครงการ “ทดลองการสื่อสารด้วยระบบ5G สำหรับรถไร้คนขับ”โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุน และร่วมมือกับSmart Mobility Research Center (Smart MOBI) และAIS 5G ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564จนถึงปัจจุบันที่ได้ผลการทดลองทดสอบเบื้องต้นเป็นประโยชน์ตามเป้าหมายอย่างยิ่ง

นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธินรองเลขาธิการกสทช.กล่าวในงาน Demoday ของโครงการนี้ว่า “5G คือ เทคโนโลยีที่จะมาขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ประเทศไทยเป็น1 ในฐานการผลิต ดังนั้นหากเรามีการทดลอง ทดสอบการนำเอาแนวคิดของปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการขับขี่ด้วยรูปแบบของระบบควบคุมยานยนต์อัตโนมัติ (Fully Automated) ผ่านเครือข่าย 5G ได้ ก็จะเท่ากับเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้มีความทันสมัย ขยายการเติบโต และสร้าง Smart City ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม”

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้ทำงานวิจัย ทดลอง ทดสอบ ในครั้งนี้ ด้วยเป้าหมายคือ ให้ทีมนักวิจัยพัฒนารถขับเคลื่อนอัตโนมัติขั้นที่ 3 กล่าวคือให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนอัตโนมัติได้ด้วยตัวเองภายในสภาพแวดล้อมที่กำหนดและรองรับการสื่อสารระหว่างรถกับสรรพสิ่งผ่านโครงข่าย5Gรวมถึงพัฒนาและทดสอบ Use cases ต่างๆในระหว่างการทดลองให้บริการซึ่งผลการทดสอบเบื้องต้นเป็นไปอย่างราบรื่น”

ด้านดร. ธีรศักดิ์ อนันตกุลหัวหน้าแผนกงานวางแผนและพัฒนาโครงข่ายวิทยุเอไอเอสกล่าวว่า “ครั้งนี้AIS ได้นำเทคโนโลยี5G SA ด้วยคลื่นn41หรือ2600MHz เพื่อตอบโจทย์ทั้งในเรื่องความหน่วงเวลาที่ต่ำมากและเรื่องการดาวน์โหลดอัพโหลดข้อมูลในปริมาณมากๆมาร่วมทดสอบโดยกรณีนี้คือการStreaming Video จากกล้องซึ่งมีอยู่หลายตัวทั้งในและนอกตัวรถและมีการรับส่งข้อมูลตลอดเวลาระหว่างรถและศูนย์ควบคุมนอกจากนี้ระบบการสื่อสารระหว่างรถและโครงข่าย (Vehicle-to-Network: V2N Communications)  รวมถึงข้อมูลการวิเคราะห์จากระบบปัญญาประดิษฐ์ก็สามารถรับส่งผ่าน 5G ได้เป็นอย่างดีโดยมีการอัพเดทข้อมูลสำคัญต่างๆระหว่างศูนย์ควบคุมและผู้ควบคุมรถได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพตลอดเส้นทางที่รถเคลื่อนที่และจุดจอดตามสถานีต่างๆ”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *