หัวเว่ยสนับสนุนความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรมเร่งเครื่องสู่ยุค 5.5Gไปพร้อมกัน

บาร์เซโลน่า สเปน 7 มีนาคม พ.ศ.2566 – หัวเว่ย จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “การมาถึงของ 5.5G”ภายในงานมหกรรม Mobile World Congress(MWC) 2023 ในเมืองบาร์เซโลน่าโดยหัวเว่ยได้เรียกร้องให้เหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรมร่วมกันผลักดันมาตรฐานกลาง และพัฒนา 5.5G สำหรับการใช้งานในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังเพื่อก้าวสู่โลกอัจฉริยะไปพร้อมกัน

นายหยาง เชาปิน รองประธานอาวุโสและประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชันไอซีทีของหัวเว่ย ได้อธิบายถึงความจำเป็นในเรื่องนี้ว่า“การเติบโตอย่างรวดเร็วของ 5G นำไปสู่ความต้องการบริการในรูปแบบใหม่ที่ไม่เพียงแตกต่างจากเดิมแต่ยังมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้ศักยภาพของ5G ที่เหนือระดับขึ้นไปอีกขั้นซึ่งเทคโนโลยี5.5G ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนา5G โดยอุตสาหกรรมเองก็มีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องนี้และกำลังดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันปัจจุบัน อุตสาหกรรมไอซีทีได้จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับมาตรฐาน 5G-Advanced (5.5G), F5G-Advanced (F5.5G), และ Net5.5G พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์ในการใช้คลื่นความถี่อย่างชัดเจน มีการตรวจสอบเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันหลักในการดำเนินการ ซึ่งการสร้างมาตรฐานเดียวกันให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเช่นนี้ได้นำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด และด้วยการพัฒนาต่างๆ เหล่านี้เอง ที่เป็นตัวเร่งการเติบโตของ 5.5G ให้สามารถพัฒนาประสิทธิภาพของเครือข่ายได้มากขึ้นถึง 10 เท่าสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการยกระดับผลิตผลด้านดิจิทัลให้ดียิ่งขึ้น”

5.5G กลายเป็นเทรนด์ร่วมกันอย่างชัดเจนสำหรับอุตสาหกรรม

นายหยาง อธิบายเพิ่มเติมว่า ในขณะที่เทคโนโลยี6G ยังอยู่ในช่วงต้นของการวิจัย 5.5G คือสิ่งจำเป็นและเป็นขั้นตอนต่อไปของการพัฒนา 5Gซึ่งอุตสาหกรรมในภาพรวมต่างก็เห็นด้วยและจริงจังกับแนวคิดนี้ ทั้งนี้ เขามองว่าอุตสาหกรรมจะต้องร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาของ 5.5G ใน 4 ด้านดังต่อไปนี้

  1. แนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อสร้างมาตรฐานให้กับอุตสาหกรรม ปัจจุบัน อุตสาหกรรมไอซีทีได้เริ่มจัดทำมาตรฐานสำหรับเทคโนโลยี 5G แล้ว โดยมีการระบุคุณสมบัติทางเทคนิคไว้ในเอกสารคู่มือ3GPP Release 18 19 และ 20 ทั้งนี้ 3GPP Release 18 จะใช้จนถึงภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2567 ขณะที่เทคโนโลยี F5.5G กำลังอยู่ในกระบวนการพัฒนาจากขั้นตอนการนำเสนอแผนไปสู่ขั้นตอนของการออกแบบคุณสมบัติจำเพาะ โดยเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมาสถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมของยุโรป(ETSI)ได้จัดทำสมุดปกขาวแบบละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีF5G และยังนำไปสู่การจัดทำเอกสารคู่มือF5.5G ฉบับแรก ในฉบับ Release 3 เพื่อนำไปใช้จนกว่าจะยกเลิกภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2567ในส่วนขององค์กรวางมาตรฐานอินเทอร์เน็ต(IETF)และสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ(IEEE)ก็ได้เริ่มดำเนินการจัดทำมาตรฐาน Net5.5G เฟสแรกแล้ว โดยมุ่งเน้นในเทคโนโลยีSegment Routingover IPv6 (SRv6), Wi-Fi 7, 800GE และอื่นๆ พร้อมตั้งเป้าจัดทำมาตรฐานดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2567
  2. กลยุทธ์การใช้คลื่นความถี่ที่มีความชัดเจนคลื่นความถี่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับเครือข่ายไร้สาย ขณะที่อุตสาหกรรม 5Gมุ่งส่งเสริมการใช้งานคลื่นความถี่ในย่านความถี่ที่ต่ำกว่า 100กิกะเฮิรตซ์ดังนั้นจะต้องมีการรื้อโครงสร้างคลื่นความถี่ใหม่เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการพัฒนาไปสู่ 5.5Gจะเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด อุตสาหกรรมไอซีทีจึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้มั่นใจได้ว่า คลื่นความถี่ที่มีแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่อย่าง mmWaveและย่านคลื่นความถี่สูงของ 6 GHz(U6GHz) จะได้รับการจัดสรรมาใช้ใน5.5G ด้วย
  3. ส่งเสริมการใช้มาตรฐานที่อุตสาหกรรมยอมรับ เทคโนโลยี 5G ได้กลายมาเป็นเป้าหมายร่วมกันของอุตสาหกรรม เห็นได้จากการที่ผู้ให้บริการโครงข่ายชั้นนำได้สนับสนุนการรับรองทางด้านเทคโนโลยีและการวางมาตรฐานโดยล่าสุดสมาคมผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายชั้นนำของโลกอย่างสมาคมจีเอสเอ็ม(GSMA)และเหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรมได้จัดตั้งคอมมูนิตี้5.5G ขึ้นภายในงาน MWC Barcelona 2023 ขณะเดียวกัน สมาคมบรอดแบรนด์โลก (Word Broadband Association) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2565 ยังได้ปล่อยสมุดปกขาว “Next Generation Broadband Roadmap” ซึ่งมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี F5.5G โดยเฉพาะ นอกจากนี้ บริษัทให้คำปรึกษาและวิเคราะห์ชั้นนำอย่างOmdiaยังได้จัดทำสมุดปกขาวNet5.5G เมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมาเพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการของอุตสาหกรรมในการเร่งเครื่องพัฒนาเชิงเทคนิค รูปแบบการใช้งาน และการสร้างอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในอนาคต
  4. วิวัฒนาการที่ราบรื่นเพื่อผลตอบแทนสูงสุดจากการลงทุน 5G จะมีส่วนช่วยสนับสนุนเทคโนโลยีหลักๆ เช่น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างคลื่นความถี่ และการทำ multimode multiplexing สำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆทำให้สามารถนำทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ในเครือข่าย 5G มาบูรณการเพื่อใช้ในการพัฒนาไปสู่ 5.5G ได้อย่างราบรื่น วิธีการดังกล่าวนี้ยังจะช่วยรักษาการลงทุนให้กับผู้ให้บริการโครงข่ายอีกด้วย

เมื่อเทคโนโลยีหลักพัฒนาจนถึงขีดสุดและแอปพลิเคชันทั้งหมดได้รับการรับรอง ยุค 5.5Gจึงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

นายหยางเปิดเผยว่าจากความพยายามร่วมกันของอุตสาหกรรม นำมาสู่การพัฒนานวัตกรรมของเทคโนโลยีสำคัญมากมาย โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการโครงข่ายหลายรายทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จในการตรวจสอบรับรองเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ExtremelyLarge Antenna Array (ELAA) และ Multi-band Serving Cell (MBSC) ส่งผลให้แนวคิดความเร็ว 10Gbps เป็นไปได้จริงสำหรับ 5.5G

ทั้งนี้ การที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ITU-T)ให้การยอมรับเทคโนโลยี50G PON ว่าเป็นเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟเจนเนอเรชันใหม่ และการพัฒนาขีดสุดของเทคโนโลยี เช่น ระบบสมมาตรสัญญาณuplink และ downlink และระบบ multi-band in one ล้วนปูทางไปสู่วิวัฒนาการของ F5.5G เช่นกัน

นอกจากนี้ การพัฒนา 5.5G และ F5.5G ยังจะนำไปสู่การยกระดับนวัตกรรมแบบ IP-based ที่จะต่อยอดไปสู่ยุค Net5.5G และในยุคนี้เราจะได้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ 800GE ultra-broadband, E2E IPv6+ ระบบอัจฉริยะ ด้านความปลอดภัย และในด้านค่าความหน่วง (latency) นำมาซึ่งศักยภาพ โอกาส และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะสร้างการเติบโตให้กับผู้ให้บริการโครงข่ายยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน5Gได้เติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากมีการนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้3 ปี ในช่วงสิ้นปี พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา มียอดผู้ใช้งาน 5Gทั่วโลกเกิน 1,000 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้งานบอร์ดแบนด์ระดับกิกะบิตทะลุ 100 ล้านคน และมีการใช้งานแอปพลิเคชัน5G ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากกว่า 20,000 แอปพลิเคชัน บริการแบบ immersive รูปแบบใหม่ๆ เช่น XR และโฮโลกราฟิกกำลังเติบโตอย่างเต็มที่ และประสบการณ์การเชื่อมต่อกำลังพัฒนาจากระดับ1 กิกะบิตเป็น 10 กิกะบิต เทรนด์การเติบโตของแอปพลิเคชัน IoT เป็นไปอย่างรวดเร็วจนเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ในประเทศจีนมีจำนวนมากกว่าประชากรในประเทศแล้วการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลยังขยายไปสู่ระบบการผลิตหลัก นำมาซึ่งความต้องการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น สัญญาณ uplink แบบ 1 กิกะบิตมีความจำเป็นอย่างมากต่อการรองรับการพัฒนาระบบตรวจสอบระยะไกลด้วย AI ที่มีความแม่นยำสูงในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ระบบขับขี่อัตโนมัติ และบริการอื่นๆ ที่ต้องบูรณาการ 5G คลาวด์และ AI ร่วมกันในการดำเนินงาน

งานมหกรรม MWC Barcelona 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม พ.ศ. 2566 ในเมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน โดยหัวเว่ยเข้าร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่างๆ ในบูท 1H50 ในอาคาร Fira Gran Via Hall 1 ภายในงานหัวเว่ยยังได้จัดปาฐกถาร่วมกับผู้ประกอบการโครงข่ายชั้นนำของโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิด ในหัวข้อต่างๆ อาทิ ความสำเร็จของธุรกิจ 5G โอกาสในการผลักดัน5.5G การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล และวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยในการขับเคลื่อนต้นแบบทางธุรกิจ GUIDE เพื่อวางรากฐานให้กับ 5.5G และการต่อยอดความสำเร็จของ 5G ที่ดียิ่งขึ้น

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2023

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *