หัวเว่ยเร่งเพิ่มศักยภาพสตรีสู่ยุคดิจิทัล ภายใต้โครงการ “Girls in ICT”เดินหน้าสร้างความเท่าเทียมด้านไอซีทีแก่เยาวชนทั่วประเทศไทย

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 15พฤษภาคมพ.ศ.2566 – ในปัจจุบันนี้การพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่ครอบคลุมยั่งยืน และเท่าเทียม ถือเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวสู่อนาคตที่มั่นคงและมีสภาพเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพโดยข้อมูลจากรายงานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) พบว่าประชากรหนุ่มสาวในประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตค่อนข้างสูงโดยร้อยละ 99 ของประชากรอายุระหว่าง15 ถึง24 ปี ล้วนแล้วแต่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างไรก็ตามยังมีจำนวนประชากรจำนวนมากที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่มากเพียงพอสำหรับทักษะดิจิทัล ทั้งระดับพื้นฐานระดับกลางและระดับสูงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนอีกพอสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมทักษะทางดิจิทัลและไอซีทีในกลุ่มผู้หญิงในประเทศเพื่อสนับสนุนให้พวกเขาได้ค้นพบโอกาสใหม่ๆ ในชีวิตทั้งด้านการศึกษาและหน้าที่การงานที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น

ภายในงาน International Girls in ICT Day ประจำปี พ.ศ.2566 ซึ่งจัดขึ้น ภายใต้ธีม “Digital Skills for Life!”หัวเว่ย ประเทศไทย ในฐานะผู้ให้บริการชั้นนำด้านไอซีทีและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในระดับโลกได้ประกาศจุดยืนเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากรทุกเพศทุกวัย พร้อมกับแนวทางเสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิงในยุคดิจิทัลผ่านทางการจัดกิจกรรมฝึกอบรม งานสัมมนา และการถ่ายทอดทักษะความรู้ด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งประเทศที่สามารถสร้างความเท่าเทียมทางเพศในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี โดยจากรายงานพบว่ามีผู้หญิงที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตคิดเป็นร้อยละ84 ซึ่งนับได้ว่าเป็นอัตราส่วนที่สูงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในขณะเดียวกัน องค์กรภาครัฐต่างๆ ในไทย ต่างก็ผลักดันเรื่องอัตราการเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในกลุ่มผู้หญิงและเยาวชนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงการวางกลยุทธ์การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านดิจิทัล เพื่อทำให้เกิดอีโคซิสเต็มส์ด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง และช่วยสนับสนุนให้เยาวชนสามารถเข้าถึงดิจิทัลได้สะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก โครงการต่างๆ เหล่านี้เป็นไปเพื่อช่วยผลักดันให้ทั้งผู้หญิงและเยาวชนไทยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ

อย่างไรก็ตามผู้หญิงในสายอาชีพด้าน STEM (วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์)ยังคงมีบทบาทค่อนข้างน้อยในประเทศไทยโดยพบว่ามีผู้หญิงที่อยู่ในสายอาชีพนี้เพียงร้อยละ 43 เท่านั้น แม้สัดส่วนดังกล่าวจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับโลก แต่ก็ยังเป็นเหตุผลที่เราควรเร่งสนับสนุนให้ผู้หญิงหันมาเลือกอาชีพด้าน STEM และไอซีทีมากขึ้น เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ซึ่งการอบรมต่างๆ ที่จัดขึ้นภายในงานครั้งนี้จะช่วยเปิดโอกาสและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนและสตรีในไทย ให้เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีไอซีทีและมองเห็นแนวทางที่จะก้าวเดินต่อไปในสายอาชีพนี้ โดยหัวเว่ยเชื่อมั่นว่าการส่งเสริมให้เยาวชนและสตรีหันมาสนใจอาชีพสายSTEMจะช่วยลดปัญหาด้านความไม่เท่าเทียมในโลกดิจิทัลเพื่อสร้างสังคมที่ทั้งความหลากหลายและครอบคลุมบุคลากรทุกรูปแบบอีกทั้งยังเป็นการปูทางไปสู่การสร้างพลเมืองดิจิทัลแห่งศตวรรษที่ 21ที่มีคุณภาพสำหรับประเทศ

นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัทหัวเว่ย(เทคโนโลยี่) ประเทศไทย จำกัดได้กล่าวถึงประเด็นบุคลากรหญิงในวงการไอซีทีของไทยว่า “หัวเว่ยพร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุคอัจฉริยะที่ทุกคนเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ภายใต้กิจกรรม Girls in ICT Day ในปีนี้ โดยหัวเว่ยได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านไอซีทีในหลากรูปแบบและหลายหัวข้อเพื่อตอบโจทย์ในด้านนี้ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อด้านการพัฒนาโครงข่าย5G การพัฒนาระบบคลาวด์การลงมือปฏิบัติจริงรวมไปถึงการเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมและนิทรรศการต่างๆ เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและส่งเสริมการพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่เหล่าเยาวชนและสตรี พร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของITUในการจัดกิจกรรมและโครงการฝึกอบรมเพื่อจุดประกายให้เหล่าเยาวชนหญิงสนใจศึกษาต่อในสาขา STEMมากขึ้นพร้อมทั้งตั้งให้หัวเว่ยเป็นพันธมิตรหลักในการสนับสนุนแนวคิดริเริ่มใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทักษะด้านไอซีทีให้กับเยาวชนทั่วประเทศ”

การส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลเป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความพยายามร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านต่างๆเช่นภาครัฐภาคเอกชนสถาบันการศึกษาและภาคประชาสังคมในการร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อผลักดันวาระสำคัญเช่นนี้หัวเว่ย จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและสตรีได้เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีไอซีทีรวมทั้งสามารถนำไปต่อยอดทางด้านอาชีพในอนาคตได้ ทั้งนี้ ในยุคดิจิทัล มุมมองและความมีส่วนร่วมของผู้หญิงจะสร้างความหลากหลาย และเป็นกุญแจไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวมไปถึงเสรีภาพและความมั่นคงอีกด้วย ซึ่งหัวเว่ย คาดหวังว่าแนวทางของหัวเว่ยในด้านการจัดอบรมด้านดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ และการบ่มเพาะผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีที จะช่วยปิดช่องว่างด้านทักษะและความรู้ไอซีทีพร้อมทั้งส่งเสริมความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัลและเสริมศักยภาพด้านไอซีทีของเยาวชนและผู้หญิงในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในอนาคต ตามพันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทยร่วมสนับสนุนประเทศไทย” (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) และการช่วยให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลในอาเซียนอย่างมีศักยภาพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *