ปิดฉากยิ่งใหญ่!คนไทยแห่ชม ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ที่บูท NARITpresented by TCP Group จัดเต็มความรู้พร้อมปลุกพลังสร้างแรงบันดาลใจตลอดหนึ่งสัปดาห์ในงาน อว. แฟร์

ปิดฉากไปแล้วกับนิทรรศการ “Empowering ThailandthroughFRONTIER RESEARCHpresented by TCP Group”บูทนิทรรศการของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT ที่นําเสนอผลงานวิจัยระดับแนวหน้าสุดล้ำจากการใช้โจทย์ดาราศาสตร์ ซึ่งสามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมอีกมากมายที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลก ไฮไลต์สำคัญในงานคือ ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ ที่กลุ่มธุรกิจ TCP (TCP Group)ผู้นำในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของไทยและเจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มให้พลังงานระดับโลกอย่าง “กระทิงแดง” (Red Bull) สนับสนุน NARIT ในการประสานงานกับองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA)นำมาจัดแสดงนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยในงาน“อว.แฟร์ : SCI-POWER FOR FUTURE THAILAND”มหกรรมวิทยาศาสตร์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี โดยงานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)

‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ที่นำมาจัดแสดงสู่สาธารณชนในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนชาวไทยเป็นจำนวนมากอย่างล้นหลามซึ่งนอกจากจะเป็นตัวอย่างจากดวงจันทร์ที่เก็บกลับมายังโลกได้สำเร็จในรอบ 40 ปีและเป็นการนำตัวอย่างกลับมาเป็นครั้งแรกของจีนแล้ว ความพิเศษอย่างหนึ่งของดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5คือการเก็บมาจากตำแหน่งลงจอดในส่วน Oceanus Procellarum หรือ “มหาสมุทรแห่งพายุ” ซึ่งเป็นแอ่งลาวาเก่าแก่ขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ บนเนินที่มีชื่อว่า Mons Rümker ที่มีดินและหินที่มีอายุกว่า 2 พันล้านปีซึ่งจะช่วยเปิดเผยให้เราทราบถึงประวัติช่วงสำคัญของดวงจันทร์ที่ยังขาดหาย

นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้นำในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของไทยเผยว่า“ด้วยความตั้งใจของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการปลุกพลังสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยตื่นตัวและสนใจในวิทยศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนมีมุมมองต่อเรื่องดาราศาสตร์ว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เราจึงให้การสนับสนุนทาง NARIT โดยร่วมมือกับ CNSA ในการนำ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ มาจัดแสดงที่ประเทศไทยในครั้งนี้ด้วยกระแสตอบรับอย่างท้วมท้นในงานกลุ่มธุรกิจ TCP รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการปลูกฝังความเป็นนักคิด ปลุกพลังเยาวชนคนรุ่นใหม่และกลุ่มประชาชนทั่วไปได้ร่วมค้นหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์และเข้าถึงชุดข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ จากผลงานวิจัยระดับแนวหน้าของ NARIT ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ที่ต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกโดยหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้ทุก ๆ คนมีพลังทำในสิ่งที่มุ่งหวังและช่วยกันทำให้โลกใบนี้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต”


โซนเทคโนโลยีทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์

โซนเทคโนโลยีอวกาศ

นอกเหนือจากการจัดแสดง ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ แล้ว ภายในบูทนิทรรศการEmpowering ThailandthroughFRONTIER RESEARCHpresented by TCP Group ของ NARIT ยังมีโซนให้ความรู้และโซนกิจกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจมากมาย ตั้งแต่โซนโครงการความร่วมมือด้านอวกาศไทย-จีน ที่ยกอุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์ของคนไทยชื่อ ‘MATCH’ หรือ Moon-Aiming Thai-Chinese Hodoscope ที่จะติดตั้งไปกับยานโคจรรอบดวงจันทร์ของภารกิจฉางเอ๋อ 7 เพื่อตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงภายใต้รังสีคอสมิกในอวกาศโซนเทคโนโลยีทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์ที่จัดแสดงผลงานวิจัยและพัฒนาชิ้นงานนวัตกรรมสุดล้ำ อาทิ กล้องจุลทรรศน์กระตุ้นสองโฟตอน ที่นำมาใช้ในงานวิจัยทางด้านการแพทย์และจุลชีววิทยา และมีห้อง‘EXPLORING THE UNIVERSE’ จัดแสดงภาพโฮโลแกรม 3D ของจักรวาลที่ทั้งสวยงามและได้ความรู้ โซนเทคโนโลยีเมคาทรอนิกส์ที่นำเทคโนโลยีสุดล้ำอย่างฐานกล้องโทรทรรศน์พร้อมระบบควบคุมเพื่อติดตามวัตถุท้องฟ้าความแม่นยำสูงมาจัดแสดงให้ชมแบบใกล้ชิด ที่สามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้กับการสำรวจอวกาศห้วงลึกต่อไปได้ โซนเทคโนโลยีอวกาศที่โชว์เคสผลงานจากโครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium) ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม NARITCube-1 หรือดาวเทียม TSC-1 ซึ่งทาง NARIT ทุ่มสุดตัวนำอุปกรณ์ของจริงบินจากเชียงใหม่มาจัดแสดง เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสศึกษาเรื่องเทคโนโลยีอวกาศแบบเจาะลึกและเข้าถึงง่ายตลอดจนโซนเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงด้านต่าง ๆ อีกมากมาย อาทิ เทคโนโลยีคลื่นวิทยุและสัญญานดิจิทัล วิทยาศาสตร์บรรยากาศ และเทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง ให้ทุกคนได้ยลโฉมแบบจัดเต็ม

ดร. ศรัณย์โปษยะจินดาผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีความร่วมมืออวกาศไทย กล่าวว่า“การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโดยใช้โจทย์ทางดาราศาสตร์มีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์ไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการวางรากฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็งให้กับสังคมไทยที่จะช่วยสร้างโอกาสและส่งเสริมการพัฒนากำลังคนในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรวิจัยรุ่นใหม่ของไทยให้เติบโต และขยายขีดจำกัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทยไปสู่ระดับสากลอันนำไปสู่การต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมอีกมากมายที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลกได้ต่อไปในอนาคต”

Loading